การบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบที่ส่งผลต่อผลผลิตของโรงเรียนดีศรีตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Title:
THE WHOLE SCHOOL APPROACH ADMINISTRATION AFFECTING OUTPUT OF SRI-TUMBOL VIRTUE SCHOOL UNDER THE OFFICE OF BASIC EDUCATION COMMISSION
Author:
Subject:
Date:
2559-01-04
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) การบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบของโรงเรียนดีศรีตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ผลผลิตของโรงเรียนดีศรีตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) การบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบที่ส่งผลต่อผลผลิตของโรงเรียนดีศรีตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนดีศรีตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 99 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้แทนชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบรูบริค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1.การบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบของโรงเรียนดีศรีตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน เรียงตามลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตามลำดับ และอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
2.ผลผลิตของโรงเรียนดีศรีตำบล ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ
ค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ ชื่อเสียงของโรงเรียนดี สุขภาพดี มีความรับผิดชอบส่วนรวม ใฝ่ดี ใฝ่เรียน ทันโลก และ ใฝ่รู้ ตามลำดับ
3.การบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบส่งผลต่อผลผลิตของโรงเรียนดีศรีตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยพบว่า การบริหารจัดการโรงเรียน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอน และการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งผลต่อผลผลิตของโรงเรียนดีศรีตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการบริหารจัดการโรงเรียน ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เป็นปัจจัยสนับสนุนต่อผลผลิตของโรงเรียนดีศรีตำบล
The research purposes were to determine 1) the whole school approach of Sri-tumbol virtue school under the Office of Basic Education Commission, 2) the output of Sri-tumbol virtue school under the Office of Basic Education Commission and 3) the whole school approach affecting output of Sri-tumbol virtue school under the Office of Basic Education Commission. The samples were 99 Sri-tumbol virtue schools under the Office of Basic Education Commission. The respondents in each school comprised of a school administrator, a teacher and a community representative in total of 297 respondents. The research instrument was an opinionnaire. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.
The finding of this research were as follows :
1. The whole school approach administration of Sri-tumbol virtue school under the Office of Basic Education Commission, as a whole was at highest level. When considered in each aspect, there were three aspects rated at a highest level, such as management, teaching and learning and extracurricular respectively. For the community participation was rated at a high level.
2. The output of Sri-tumbol virtue school under the Office of Basic Education Commission, as a whole was at highest level. When considered in each aspect, there were rated at a high level, such as the school's celebrity, good health, a collective responsibility, toward the good, achievement, technology career skill and communication skill respectively.
3. The aspect of teaching and learning, management and community participation were affected to the output of Sri-tumbol virtue school under the Office of Basic Education Commission at the .01 level of significant. The extracurricular was a support factor to the output of Sri-tumbol virtue school.
Type:
Discipline:
การบริหารการศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
125