การพัฒนารูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Title:
DEVELOPMENT OF A FOREIGN LANGUAGE LEARNING STRATEGY INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE LISTENING-SPEAKING ABILITIES FOR THAI EFL UNDERGRADUATE STUDENTS
Author:
Subject:
Date:
2559-07-27
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความจำเป็นของนักศึกษา ด้านความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจ ความสามารถในการพูดสื่อสาร และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศ ให้มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ตามเกณฑ์ 75/75 และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศในประเด็นดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังเรียน และศึกษาขนาดของผล (Effect size) 3.2) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนก่อนและหลังเรียน และศึกษาขนาดของผล (Effect size) และ 3.3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความจำเป็นต้องเรียนรู้ 2) เอกสารบทเรียนและสื่อการสอน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ 4) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ใช้เวลาในการทดลองสอน 40 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าขนาดของผล และค่าสถิติทดสอบ t (Dependent t-test)
ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ความจำเป็นของนักศึกษาด้านความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจ ความสามารถในการพูดสื่อสาร และหัวข้อความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น อยู่ในเกณฑ์ระดับดี โดยค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 76.79 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 78.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีดังนี้
3.1 ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีผลขนาดใหญ่มาก
3.2 ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของนักศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีผลขนาดใหญ่มาก
3.3 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศ อยู่ในระดับมาก
The present study aims to develop a foreign language learning strategy instructional model to enhance listening-speaking abilities of Thai undergraduate students, English program, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The objectives were 1) to investigate learner needs including listening comprehension subskills, speaking subskills, and knowledge about ASEAN community, 2) to develop a foreign language learning strategy instructional model to meet the efficiency criteria of E1/E2 = 75/75, which compare the percentage averages of formative assessment scores with summative assessment scores, and 3) to investigate the effectiveness of the instructional model as follows; 3.1) to compare listening-speaking abilities of the students before and after given the instruction and its effect size, 3.2) to compare ASEAN community knowledge of the students before and after given the instruction and its effect size, and 3.3) to survey students’ satisfaction with the given instruction. The research instruments were 1) the learners’ needs questionnaire, 2) the listening-speaking English coursebook, 3) the listening-speaking ability tests, 4) an ASEAN knowledge test, and 5) the students’ satisfaction questionnaire. The sample was 30 Thai fourth-year undergraduate students, majoring in English program, Faculty of Education, in class of 2015, by using simple random sampling. The instructional model was tested for 40 hours in 5 weeks. Data were collected and analyzed by fundamental statistics including mean, standard deviation, effect size, and dependent t-test
The findings were as follows. 1) The learner needs identified by the self-assessment questionnaire showed that leaner needs including listening comprehension subskills, speaking subskills, and ASEAN knowledge were at medium level. 2) The instructional model reached the efficiency by comparing the percentage of formative assessment scores (E1) = 76.79 with summative assessment scores (E2) = 78.40, which was higher than the established requirement of 75/75. 3) After implementation of the instructional model, the learning evaluation revealed the findings as follows: 3.1) The average scores of listening-speaking abilities in posttest were significantly higher than pretest scores at the 0.05 level, and its effect size was very large; 3.2) The average scores of ASEAN knowledge in posttest were significantly higher than pretest scores at the 0.05 level and its effect size was large; and 3.3) The satisfaction survey indicated that students’ overall satisfaction toward the instructional model was at the high level.
Type:
Discipline:
หลักสูตรและการสอน(การสอนภาษาอังกฤษ) แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
249