วลีหลายกริยาในภาษาไทอาหม
Other Title:
Serial verb phrases in Tai Ahom
Author:
Date:
1996
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวลีหลายกริยาในภาษาไทอาหม โดยใช้ข้อมูลจากหนังสืออาหมบุราณจี (ประวัติศาสตร์อาหม) ฉบับพิมพ์ และหนังสือ Tai Ahoms and the Stars การศึกษาวลีหลายกริยาในภาษาไทอาหมนี้ ได้จำแนกประเภทของวลีหลายกริยาตามจำนวนของคำกริยาที่ปรากฏในโครงสร้างวลีหลายกริยา แบ่งคำกริยาตามตำแหน่งที่เกิดและตามความหมายของคำกริยาแต่ละตำแหน่ง รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคำกริยากับคำนามในประโยค
ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า ประเภทของวลีหลายกริยาแบ่งจำนวนของคำกริยาออกเป็น 3 ประเภท คือ วลีที่ประกอบด้วยคำกริยา 2 คำ มี 5 โครงสร้าง วลีที่ประกอบด้วยคำกริยา 3 คำ มี 6 โครงสร้าง และวลีที่ประกอบด้วยคำกริยา 4 คำ มี 8 โครงสร้าง วลีหลายกริยาที่แบ่งตามตำแหน่งมี 11 แบบ คือ วลีที่ประกอบด้วยคำกริยา 2 คำ มีตำแหน่งการเกิดของคำกริยาต่าง ๆ ได้ 3 แบบ วลีที่ประกอบด้วยคำกริยา 3 คำ มี 4 แบบ วลีที่ประกอบด้วยคำกริยา 4 คำ มี 4 แบบ คำกริยาที่มีความหมายทางไวยากรณ์โดยทำหน้าที่เพิ่มความหมายให้คำกริยาคำหลัก คำกริยาเหล่านั้นได้แก่ คำกริยาแสดงทิศทาง คำกริยาแสดงการณ์ลักษณะ และคำกริยาที่เป็นสาเหตุให้เกิด วลีหลายกริยาแต่ละประเภทยังสามารถตีความเกี่ยวกับลำดับคำกริยาได้ 4 ประเภท คือ แบบเรียงลำดับเหตุการณ์ แบบแสดงจุดประสงค์หรือแสดงผล แบบไม่เรียงเหตุการณ์ และแบบเกิดพร้อมกัน
กระสวนของวลีหลายกริยาจะมี 2 ประเภท คือ กระสวนที่แบ่งตามหน่วยพื้นฐานของโครงสร้างวลีหลายกริยา มี 19 กระสวน และกระสวนที่แบ่งตามหน่วยซับซ้อนของโครงสร้างวลีหลายกริยามี 37 กระสวนโดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ วลีหลายกริยาประกฎร่วมกับคำกริยาเดี่ยว ซึ่งมีทั้งหมด 22 กระสวน และวลีหลายกริยาพื้นฐานบางประเภทปรากฏเรียงกันเอง มี 15 กระสวน
ความสัมพันธ์ระหว่างคำกริยากับคำนามในประโยคพบได้ 3 ประเภท คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคำกริยากับคำนามที่นำมาข้างหน้ามี 5 ประเภท ความสัมพันธ์ระหว่างคำกริยากับคำนามที่อยู่ข้างหลังมี 3 ประเภท และความสัมพันธ์ระหว่างคำกริยากับคำนามที่คั่นอยู่ระหว่างคำกริยาพบเพียงประเภทเดียว The purpose of this research is to study the serial verb phrases in Tai Ahom. Data are based on two sources : ‘Ahom Buranji’ and ‘Tai Ahoms and the Stars.’
This research classified serial verb phrases by number of verbs, positions of each verb, and by meaning of verbs in each position, and also the relationship between verbs and nouns in the sentence.
The result of the study is as follows : There are 3 types of serial verb phrases classified by number of verbs in the phrase ; (1) two verbs in a phrase (5 structures), (2) three verbs in a phrase (6 structures), and (3) four verbs in a phrase (8 structures). There are 11 types of serial verb phrases classified by position of verbs : 3 for two-verb phrases, 4 for three-verb phrases and 4 four-verb phrases. The main verb carrying the true predicate meaning in a clause. Others verbs express a function meaning which is related to the predicate meaning of the main verb. The function words are direction verb, aspectual verb and causative verb. The interpretion of verb sequential in each types of serial verb phrases can be divided into four groups : sequential action, purposive or resultative action, unordered action and simultaneous action.
There are 2 types of serial verb phrases classified by meaning of verbs in each position : (1) Basic unit, consisting of 2 verbs in a phrases (19 patterns), (2) Complex unit, consisting of more than 2 verbs in a phrase (37 patterns). Complex unit is divided into two types : (1) Basic unit and a verb (22 patterns), (2) Basic unit and another basic unit (15 patterns).
There are 3 types of the relationship between verbs and nouns in a sentence : (1) Verbs and the nouns before them (5 structures), (2) Verbs and the nouns after them (3 structures), and (3) Verbs and nouns between them (one structure).
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539 Thesis (M.A. (Thai epigraphy))--Silpakorn University, 1996)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
127