วรรณกรรมมอญเรื่องพระเจ้าอสะราช : การศึกษาเชิงวิเคราะห์
Other Title:
Lik Smin Asah : an analytical study
Author:
Subject:
Date:
1983
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาอักขรวิธี การถอด การแปลภาษามอญ และวิเคราะห์เนื้อเรื่องของวรรณกรรมมอญเรื่องพระเจ้าอสะราช ทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวรรณศิลป์
เนื้อหาแบ่งเป็น 5 บท บทที่ 1 เป็นบทนำ กล่าวถึงภูมิหลังและความสำคัญของเรื่อง ความมุ่งหมาย ขอบเขตของการวิจัย งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 ว่าด้วยอักขรวิธี บทที่ 3 ถอดเป็นอักษรไทยและถอดความเป็นภาษาไทย บทที่ 4 เป็นบทวิเคราะห์ ประเมินคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และวรรณศิลป์ บทที่ 5 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ
ผลจากการวิจัย พบว่า ลักษณะตัวอักษรและอักขรวิธี เป็นลักษณะตัวอักษรและอักขรวิธีภาษามอญใน พ.ศ. 2467
เนื้อเรื่องเป็นตำนานการตั้งเมืองพะโคหรือหงสาวดี และเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นระหว่างรัชสมัยของกษัตริย์สองพระองค์แรกของราชวงศ์ที่ 1 แห่งหงสาวดี คือ พระเจ้าสักรทัต (สมละ) และพระเจ้าสักรทัตสอง (วิมล) ตลอดจนการบุกรุกของอินเดียเข้ามายังเมืองนี้ ทำให้เกิดมีมหาราชเกิดขึ้นองค์หนึ่งคือพระเจ้าอสะราช หรือพระเจ้าสัตรุชินราช กษัตริย์องค์ที่ 3 ของราชวงศ์แห่งเมืองหงสาวดี
นอกจากนี้จะเป็นวรรณกรรมเชิงประวัติศาสตร์และตำนานแล้ว วรรณกรรมเรื่องนี้ยังประพันธ์ขึ้นโดยกวีที่มีความสามารถ เป็นผลให้วรรณกรรมเรื่องนี้มีคุณค่าถึงขั้นวรรณศิลป์ The purpose of this thesis is to study a system of spelling of the Mon language, its transliteration and its translation together with an historical and literary analysis on the text of Lik Smin Asah
The thesis is divided into five chapters. Chapter I is an introduction dealing with background and significance of this literary work, objectives and scope of the thesis, other reserches and document involved and also some benefits expected from this study. Chapter II III, and IV tackle the system of spelling of the Mon language, the transliteration and interpretation of the Mon language into Thai and the historical and literary analysis of the text, respectively. And the last chapter is the conclusion of the study with some suggestions.
The study reveals that the Mon alphabet as well as its system of spelling as appeared in the text is peculiar to the year B.E. 2467 (1924).
Lik Smin Asah is a legend of the establishment of Pegu or Hanthawaddy. Under favor of circumstances during the reigns of the fist two Kings of the first dynasty of Pegu, namely King Sakarathai I (Samala) and King Sakarathat II (Wimala) as well as the invasion of the Indians to the city of Pegu, came a hero, King Asaraj the great (King Satruchinaraj) to the throne as the third King of the first dynasty of Hanthawaddy.
Written by a poet of great talent, Lik Smin Asah is not only considered a work of historical value but a work of art also.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาตะวันออก))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2526 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1983)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
158