พยัญชนะควบกล้ำในตำนานพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
Other Title:
Consonant clusters in the Chronicle of the Relic, Nakhon Si Thammarat
Author:
Subject:
Date:
1988
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยมีความมุ่งหมาย 4 ประการ คือ ประการแรกเพื่อปริวรรตตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชฉบับที่คัดลอกเมื่อ พ.ศ. 2415 ประการที่ 2 เพื่อศึกษาพยัญชนะควบกล้ำในตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ประการที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบพยัญชนะควบกล้ำในตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กับพยัญชนะควบกล้ำในจารึกภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่ปรากฏศักราชชัดเจนตั้งแต่ พ.ศ. 2415 ย้อนขึ้นไปถึงจารึกในพุทธศตวรรษที่ 19 ประการที่ 4 เพื่อเปรียบเทียบพยัญชนะควบกล้ำที่ปรากฏในภาษาเขียนกับภาษาพูดในภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ผลการวิจัยแบ่งเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้
1. ถ่ายทอดและปริวรรตตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชฉบับที่คัดลอกเมื่อ พ.ศ. 2415
2. ศึกษาพยัญชนะควบกล้ำในตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชฉบับนี้ พบว่ามีพยัญชนะควบกล้ำ 14 เสียง คือ
1. ปร /pr- / 2. ปล /pl- / 3. พร, ผร /phr- / 4. พบ, ผล / phl- /
5. กร / Kr- / 6. กล /kl- / 7. กว /kw- / 8. คร, ขร /khr- /
9. คล, ขล / khl- / 10. คว, ขว / Khw- / 11. คร / ti- / 12. ทร /thr- /
13. มร /mr- / 14. มล /ml- /
3. ผลการเปรียบเทียบพยัญชนะควบกล้ำในตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชฉบับที่คัดลอกเมื่อ พ.ศ. 2415 กับพยัญชนะควบกล้ำที่ใช้ในจารึกภาษาไทยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่ปรากฏศักราชชัดเจนตั้งแต่ พ.ศ. 2415 ย้อนขึ้นไปถึงจารึกในพุทธศตวรรษที่ 19 แสดงว่า ตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชมีพยัญชนะควบกล้ำมากที่สุด คือ 14 เสียง รองลงมาเป็นจารึกภาคเหนือ “กลุ่มที่ 1” และจารึกภาคกลางซึ่งมีพยัญชนะควบกล้ำ 13 เสียง ขาดพยัญชนะควบกล้ำ มร /mr- / 1 เสียง ลำดับถัดมาเป็นจารึกภาคเหนือ “กลุ่มที่ 2” มีพยัญชนะควบกล้ำ 12 เสียง ขาดพยัญชนะ มร /mr- / และ ทร /thr- / ลำดับสุดท้ายเป็นจารึกภาคตะวันออกเฉียงหนือซึ่งมีพยัญชนะควบกล้ำ 11 เสียง โดยมีพยัญชนะควบกล้ำ บล / bl- / อยู่ด้วยแต่ไม่มีพยัญชนะควบกล้ำ พล ผล /phl- /, คล ขล /khl- / , มร /mr- / , ทร /thr- / ส่วนการแทรก “ร” ในคำที่ปรากฏในจารึกที่นำมาศึกษาแสดงให้เห็นว่านิยมแทรก “ร” ในคำที่จารึกทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง และเป็นที่เข้าใจได้ว่า พยัญชนะควบกล้ำที่แทรก “ร” หลาย ๆ คำ ในภาษาเขียนคงจะไม่ปรากฏใช้ในภาษาพูด
4. ผลการเปรียบเทียบพยัญชนะควบกล้ำที่ปรากฏในตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช จารึกภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นภาษาเขียน กับเสียงพยัญชนะควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นเหนือ ถิ่นกลาง ถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือ และถิ่นใต้ในปัจจุบัน แสดงว่า พยัญชนะควบกล้ำในตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเหมือนกันและมีจำนวน 14 เสียงเท่ากัน กับภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มภาษานครศรีธรรมราชในปัจจุบัน ส่วนภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มภาษาตากใบมีพยัญชนะควบกล้ำมากกว่าภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มภาษานครศรีธรรมราช 2 เสียง คือ บร /br- / และ บล / bl- /, พยัญชนะควบกล้ำในจารึกภาคกลางมี 13 เสียง โดยมีพยัญชนะควบกล้ำ มล /ml- / ด้วย ส่วนภาษาไทยถิ่นกลางในปัจจุบันไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ มล / ml- / จึงมีพยัญชนะควบกล้ำ 12 เสียง, จารึกภาคเหนือแบ่งเป็น 2 กลุ่ม “กลุ่มที่ 1” มีพยัญชนะควบกล้ำ 13 เสียง เท่ากันและเหมือนกันกับพยัญชนะควบกล้ำในจารึกภาคกลาง ส่วน “กลุ่มที่ 2” มีพยัญชนะควบกล้ำ 12 เสียงโดยมีพยัญชนะควบกล้ำ มล /ml- / แต่ไม่มีพยัญชนะควบกล้ำ ทร /thr- / สำหรับพยัญชนะควบกล้ำในจารึกภาคเหนือทั้งสองกลุ่มนี้แตกต่างจากเสียงพยัญชนะควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นเหนือในปัจจุบันมาก เนื่องจากภาษาไทยถิ่นเหนือในปัจจุบันมีเสียงยัญชนะควบกล้ำในตระกูลภาษาไทยเพียง 2 เสียง คือ กว /kw- / และ คว ขว /khw- /, พยัญชนะควบกล้ำในจารึกภาคตะวันออกเฉียงหนือต่างจากเสียงพยัญชนะควบกล้ำภาษาไทยถิ่นตะวันตกฉียงเหนือในปัจจุบันมากที่สุด กล่าวคือ ในจารึกมี 11 เสียง ส่วนในภาษาพูดในปัจจุบันไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำเหลืออยู่เลย This study has four purposes as follows :
1. To translate and transcribe the Chronicle of the Relic in Nakhon Si Thammarat into Standard Thai.
2. To study consonant cluster cluster usage in the Chronicle.
3. To compare consonant clusters as used in the Chronicle to those used in the inscriptions in other parts of the country.
4. To compare those written consonant clusters to the spoken form in their corresponding dialects. The results show that fourteen consonant clusters, pr- pl-, phr-, phl-, kr-, kl-, kw-, khr-, khl-, khw-, tr-, thr-, mr-, ml-, are used in the Chronicle of Nakhon Si Thammarat, while 11, 12, and 13 are found used in the inscriptions of the Northeast, North, and Central respectively. The southern dialects are the only group that still uses the same consonant clusters as found in the Chronicle. Other groups use fewer consonant clusters in their spoken language today. The Northeast group is an extreme case where consonant clusters are no longer used in the spoken language.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย)) -- มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531 Thesis (M.A. (Thai epigraphy)) -- Silpakorn University, 1988)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
129