การศึกษาเรื่องศัพท์ภาษามอญในจังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่น:
A lexical study of Mon spoken in Nonthaburi Lop Buri and Kanchanaburi
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
1991
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ การศึกษาและเปรียบเทียบศัพท์ในภาษามอญ จังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และกาญจนบุรี ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้สำรวจพื้นฐานภาษามอญประกอบด้วยหน่วยอรรถจำนวน 1,857 หน่วยอรรถ นำไปสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาจำนวน 9 คน ซึ่งได้คัดเลือกไว้เป็นตัวแทนของคนมอญที่จะศึกษาถิ่นละ 3 คน โดยควบคุมตัวแปรทางสังคม คือ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา ภูมิลำเนา และภูมิหลังของคู่สมรส
ผลการวิจัยปรากฏว่า ภาษาถิ่นมอญทั้ง 3 ถิ่นมีการใช้ศัพท์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ใช้ศัพท์เหมือนกันทั้ง 3 ถิ่น รวม 765 หน่วยอรรถ ประเภทที่ 2 ใช้ศัพท์แตกต่างกันทั้ง 3 ถิ่น รวม 548 หน่วยอรรถ ประเภทที่ 3 ใช้ศัพท์เหมือนกันบางถิ่นต่างกันบางถิ่นรวม 544 หน่วยอรรถ การใช้ศัพท์ในภาษามอญจังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และกาญจนบุรี จึงมีทั้งเหมือนกันและต่างกัน ศัพท์ที่ชาวมอญทั้ง 3 ถิ่นใช้เหมือนกันล้วนเป็นศัพท์ดั้งเดิมของภาษามอญ ส่วนศัพท์ที่ใช้ต่างกันนั้นเป็นศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยกลาง และศัพท์ภาษามอญกาญจนบุรีอาจจะมีคำยืมมาจากภาษาพม่าบ้าง
จากการเปรียบเทียบจำนวนศัพท์ที่ชาวมอญใช้พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากศัพท์ดั้งเดิมของภาษามอญทั้ง 3 ถิ่น จำนวน 1,092 หน่วยอรรถ นับได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ขึ้นในภาษามอญเป็นจำนวนมาก และถ้าดูความแตกต่างในการใช้ศัพท์ตามกลุ่มความหมายจะเห็นว่ากลุ่มที่ใช้คำศัพท์แตกต่างกันมากคือ คำเรียกเครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นกลุ่มความหมายที่มีการใช้ศัพท์แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ และการรับเอาวัฒนธรรมชาติอื่น ๆ เข้ามาปะปน รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากการสื่อสาร การคมนาคม และเทคโนโลยี The main purpose of this thesis is to study and compare vocabulary in Mon spoken in Nonthaburi, Lop buri and Kanchanaburi. In this study, the researcher surveyed a total of 1,857 items of general vocabulary of spoken Mon. Interviews were conducted with nine informants, three from each province ; who were selected as representative speakers of Mon. The informants were controlled for social factors of sex, age, occupation, education, residence and spouse’s background.
The result of this study revealed that there are three categories of vocabulary usage in Mon spoken in all three locations. The first category which comprises 765 items are found in all three locations. The second category which comprises 548 items are different in all three locations. The third category which comprises 544 items are used in one location but not in the others. The usage of Mon spoken in Nonthaburi, Lop buri and Kanchanaburi thus is both dentical and different. Vocabulary which is the same in all three locations is the native vocabulary of Mon. The vocabulary that is different is borrowed from Central Thai, the Mon spoken in Kanchanaburi may be borrowed from Burmese.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy)) -- Silpakorn University, 1991)
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
215