พิธีกรรมงานปีผีมด : ภาพสะท้อนความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับการสร้างความร่วมมือของชุมชนบ้านบ่อพราหมณ์-บ่อมอญ ต.นาวุ้ง อ.เมือง จ.เพชรบุรี

Other Title:
Ngarn Pee Phi Mod rituals : a reflection of kinship relations and enhancement of community cooperation of Baan Bor Phram-Bor Mon in Tambon Na Wung of Mueang District, Phetchaburi Province
Author:
Subject:
Date:
2008
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาความสัมพันธ์ทางเครือญาติผ่านการประกอบพิธีกรรมงานปีผีมดซึ่งเป็นการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ และเพื่อศึกษาการสร้างความร่วมมือของชุมชน การเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมทั้งด้านรูปแบบ เนื้อหาสาระ เงื่อนไขการสืบทอดและการดำรงอยู่ของพิธีกรรมภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในช่วงเวลาต่าง ๆ
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยา ได้แก่ การเก็บข้อมูลภาคสนามจากหมู่บ้านบ่อพราหมณ์-บ่อมอญ เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2549-2552 โดยวิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยเข้าฝังตัวในชุมชนและเข้าร่วมพิธีกรรมและงานประเพณีต่าง ๆ ของชุมชนโดยเฉพาะระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนของทุกปีที่จะมีพิธีกรรมงานปีผีมด ซึ่งเป็นพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีเรือน ผีบ้าน ผีเชื้อสาย ผีเมือง ในขณะที่สังเกตการณ์นั้นมีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเพื่อให้เกิดความเข้าใจในโครงสร้างของสังคม และโครงสร้างพิธีกรรม และความหมายของการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ของพิธีกรรม และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการกับผู้นำชุมชน ผู้นำพิธีกรรม และชาวบ้านที่เป็นเจ้าภาพจัดพิธีกรรม
จากการวิจัยพบว่าพิธีกรรมงานปีผีมดสะท้อนความสัมพันธ์ทางเครือญาติของชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยการศึกษานี้ค้นพบที่สำคัญ 5 ประการ ประการแรกค้นพบว่าความสัมพันธ์ของเครือญาติช่วยสร้างความเชื่อมั่นทางจิตใจให้กับบุคคล ประการที่สองพิธีกรรมมีส่วนในการสร้างสำนึกของความเป็นกลุ่ม ประการที่สามมีการควบคุมทางสังคมผ่านการประกอบพิธีกรรม ประการที่สี่ มีการสร้างความร่วมมือภายในชุมชน และประการสุดท้าย พิธีกรรมนี้ช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนรอบข้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างความเป็นท้องถิ่น สำหรับเงื่อนไขสืบทอดและการดำรงอยู่ของพิธีกรรมท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนั้นมีปัจจัยอยู่ 3 ประการ คือ เงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ของชุมชนท้องถิ่นและสังคมไทยโดยรวม The main purposes of this research are to study the kinship relation through the analysis of a symbolic ritual, ‘Ngan Pee Phi Mod,’ and to study the collaboration of community in the practice this ritual, changes in its forms, contexts, and the conditions for its transmission and continuity in the changing economic, social, and political contexts of different time periods.
This thesis applied the anthropological methods of field research in the collecting of data in Baan Bor Bhram-Bor Mon over a period of 3 years from 2007 to 2009, and observant participation in the community’s rituals and traditional ceremonies, particularly during March-June of every year when Ngan Pee Phi Mod are predominantly held. This ritual is a form of spirit worship that extends from the worship to ancestors to house, village, lineage, and town spirits. During observant participation, informal interviews were conducted to apprehend social and ritual structure and the meaning of the ritual. In addition, formal interviews were conducted with both community and ritual leaders as well as hosts of Ngan Pee Phi Mod ritual.
This study found that Ngan Pee Phi Mod ritual clearly mirrors the community’s kinship relation. There are five major findings in this study : 1) The existing kinship relation contributes to individual’s emotional security ; 2) The ritual helps to establish the group identity ; 3) The ritual acts as a social control mechanism ; 4) The ritual contributes to close group collaboration ; 5) The ritual enhances social networks among the community’s neighborhood, Three main factors were found to influence the transmission and continuity of Ngan Pee Phi Mod ritual in times of change : social, economic, and political conditions in the local community and the overall Thai society.
Type:
Discipline:
สาขาวิชามานุษยวิทยา
Collections:
Total Download:
272