ตำนานและพิธีกรรมคุณปู่ศรีราชา : ภาพสะท้อนบูรณาการทางสังคมวัฒนธรรมที่บ้านยี่สาร
Other Title:
The myth and ritual of Khun Phu Sriracha : reflection on the socio-cultural integration in Yisan village
Author:
Subject:
Date:
2001
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ตำนานคุณปู่ศรีราชาไม่ใช่เรื่องเล่าปรัมปราที่ตายแล้ว แต่งยังคงความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในชุมชนยี่สารมีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งเนื้อหาในตำนานกล่าวถึงวีรบุรุษและการเกิดขึ้นของชุมชนอันเป็นการแสดงออกถึงตัวตนและรากเหง้าของชาวยี่สาร นับเป็นสำนึกร่วมของผู้คนในชุมชนที่สะท้อนให้เห็นบูรณาการและการผสมกลมกลืนทางสังคมวัฒนธรรมของผู้คนในชุมชนนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ดังนั้น จึงทำการศึกษาถึงพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมที่สะท้อนจากตำนานและพิธีกรรมเกี่ยวกับคุณปู่ศรีราชา ซึ่งได้มองไปที่พัฒนาการของชุมชนยี่สารว่าเป็นอย่างไร วิธีการนี้จึงจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ และเครื่องมือในการศึกษาที่ใช้ คือ ตำนานและประเพณีพิธีกรรม ซึ่งได้ศึกษาตำนานและพิธีกรรมในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับบาบาท, หน้าที่, วัตถุประสงค์ และเจตนาทางสังคมว่าเป็นอย่างไร จากการศึกษาพบว่า
1. ชุมชนยี่สารผ่านการเปลี่ยนแปลงจากการเป็นชุมชนของการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนสินค้าชายทะเลมาเป็นสังคมแบบ peasant society ที่ทำกินด้วยการเลี้ยงกุ้ง ปลูกสวนป่าโกงกางและผลิตถ่านจากไม้โกงกางในปัจจุบัน
2. การอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ทุรกันดารและขาดแคลนเช่นนี้ต้องอาศัยเครื่องมือทางความเชื่อที่สำคัญ คือ คุณปู่ศรีราชา ผ่าน ตำนานแลพิธีกรรม เป็นความเชื่อและศรัทธาที่ยิ่งใหญ่พอจะทำให้เป็นกำลังใจให้ผู้คนสามารถปรับตัวอยู่ได้ กระบวนการปรับเปลี่ยนคุณปู่จากจีนเรือแตกเป็นคุณปู่ศรีราชาและเนื้อหาในตำนาน สามารถให้ภาพที่ชัดเจนของกลุ่มคนจีนที่เข้ามาสู่แผ่นดินสยามชายฝั่งตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 อันเป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกันทั่วไปในพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และเห็นภาพกระบวนการปรับให้เป็นท้องถิ่น [localization] ของผู้คนและวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้
3. ปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนว่าทั้งตำนานและพิธีกรรมมีบทบาทในการสร้างบูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรม และตำนานคุณปู่ศรีราชายังคงมีบทบาทความศักดิ์สิทธิ์ที่สะท้อนให้เห็นจากงานพิธีกรรม อย่างไรก็ตาม ยังได้สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งด้วยจากการปรับเปลี่ยนความเชื่อและพิธีกรรมที่ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา เป็นผลมาจากการรับความทันสมัยจากการเปิดโลกทัศน์ติดต่อกับภายนอกมากขึ้น
4. ตำนาน พิธีกรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในชุมชนยี่สาร ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนผ่านการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การจัดท่องเที่ยวในชุมชน การนำชมจากคนภายในที่พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าและงานเทศกาลและพิธีกรรมในชุมชน เป็นผลส่วนหนึ่งจากการหาคำตอบว่าตนเองคือใครและมีที่มาอย่างไร The Myth of Khun Phu Sriracha is not a discontinuous legend, but still sacred in Yisan community. Both of the myth and the ritual always have influence on the social and cultural change. Besides, the narration had mentioned to a cultural hero who related to the settlement of Yisan community and stated the identity and descent of the Yisan. For that reason, the co-subconsciousness of the Yisan community had reflected the socio-cultural integration and acculturation from past till now.
To explain the change of Yisan community we should consider how the development of the Yisan community was in the past. Therefore, I was researching on social and cultural development which reflected from the myth and ritual of Khun Phu Sriracha, specifically on the roles, functions and purposed of the myth and ritual. From the studying, I found that the Yisan community had transformed from trade society which was the beginning of the community to peasant society nowadays.
To live in the arid area, people need to belive in something. The myth and ritual of Khun Phu Sriracha was a grate faith that inspired villagers to be able to live in this circumstance. The change of a story of a Chinese wrecked ship to the myth of Khun Phu Sriracha clearly showed the settlement of live along Siam coast since 18th – 19th AD. The settlement pattern was similar to the history of settlement in this region and it showed the localization.
Today, both of the myth and ritual apparently initiate the development of society and culture. The myth remains sacred as seen from the ritual. However, there is a conflict from the incorporation of a dogma and ritual to a part of Buddhism. That is a perceiving of modern thought from outside society.
Myth, ritual and local history of the Yisan community are used to symbolized the uniqueness of the community found in a local museum, local tourism and from telling the story over and over by the villagers. The festivals and rituals in the community are the results of searching for their identity and past.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (มานุษยวิทยา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544 Thesis (M.A. (Anthropology))--Silpakorn University, 2001
Type:
Discipline:
สาขาวิชามานุษยวิทยา
Collections:
Total Download:
2405