ถ้ำเขาหลวงและสถานที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
Other Title:
The Study for Developing Khao-luang Cave and Its Related Sites as a Historical, Art and Cultural Learning Source.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ถ้ำเขาหลวงและสถานที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
Author:
Subject:
ถ้ำเขาหลวง (เพชรบุรี) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ถ้ำ -- เพชรบุรี -- การท่องเที่ยว
เพชรบุรี -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ -- ไทย -- เพชรบุรี
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- เพชรบุรี
แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ (เพชรบุรี)
ถ้ำ -- ไทย -- การท่องเที่ยว
วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว
พระพุทธรูป -- ไทย -- เพชรบุรี
Khao-luang Cave
ถ้ำ -- เพชรบุรี -- การท่องเที่ยว
เพชรบุรี -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ -- ไทย -- เพชรบุรี
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- เพชรบุรี
แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ (เพชรบุรี)
ถ้ำ -- ไทย -- การท่องเที่ยว
วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว
พระพุทธรูป -- ไทย -- เพชรบุรี
Khao-luang Cave
Date:
2018
Publisher:
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ คือ
๑.เพื่อทราบถึงความสำคัญของถ้ำเขาหลวงและสถานที่เกี่ยวเนื่องในบริบทต่างๆ โดยเฉพาะในแง่มุมความเชื่อ และความสัมพันธ์กับราชสำนักสมัยรัชกาลที่ ๔-๕
๒.เพื่อทราบถึงความต้องการ ปัญหา อุปสรรค และข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย สำนักโบราณคดีที่ ๑ ราชบุรี วัดบุญทวี ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องและนักท่องเที่ยว เพื่อวางแนวทางในการพัฒนาถ้ำเขาหลวงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
๓.เพื่อนำองค์ความรู้และแนวทางต่างๆ ที่ได้ไปผลิตเป็นเอกสารและสื่อการเรียนรู้ป ระเภทต่างๆ และจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ถ้ำเขาหลวงและสถานที่เกี่ยวเนื่องได้พัฒนาสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
จากการวิจัยทำให้ทราบว่าถ้ำเขาหลวงและสถานที่เกี่ยวเนื่องเป็นศาสนสถานสำคัญมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น และยังคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สืบมาตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อล่วงเข้าสู่สมัย
รัตนโกสินทร์พบว่าสถานที่แห่งนี้มีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์จักรี กล่าวคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงสร้างหรือทรงปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในถ้ำหลายอย่าง พระราชวงศ์หลายพระองค์ได้โดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนั้นด้วย นับได้ว่าถ้ำเขาหลวงเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ทรงสร้างหรือทรงปฏิสังขรณ์ไว้มากที่สุดกว่าที่ใดในประเทศไทย นอกจากนี้บุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและต่างชาติก็ได้เคยเดินทางมาถ้ำนี้ด้วย
จากคุณค่าและความสำคัญข้างต้น คณะผู้วิจัยจึงเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะพัฒนาถ้ำเขาหลวงและสถานที่เกี่ยวเนื่องให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมต่อไป โดยขึ้นตอนต่อไปของ
งานวิจัย คือ ผลิตสื่อการเรียนรู้ประเภทต่างๆ องค์ความรู้นี้จะเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดการพัฒนาเป็นแหล่ง
เรียนรู้ โดยทางคณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว บุคคลทั่วไป และบุคลากรจากหน่วยงานหรือองค์กรที่
เกี่ยวข้อง เพื่อทราบองค์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่เดิม และขอความคิดเห็นว่าสื่อการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นนั้นมี
อะไรบ้าง ในที่สุดจึงผลิตสื่อการเรียนรู้ทั้งสิ้น ๕ ประเภท ได้แก่ .แผ่นพับ ๒.หนังสือ ๓.วีดิทัศน์ออนไลน์ ๔.
อินโฟกราฟฟิกส์ ๕.เพจเฟซบุ๊ค เขาหลวงมรดกล้ำค่าของเมืองเพชรบุรี
เมื่อผลิตสื่อประเภทต่างๆ แล้วเสร็จ ได้นำสื่อต่างๆ เหล่านี้เผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านช่องทางต่างๆ และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์ สื่อทุกประเภทได้รับการประเมินจากผู้ใช้งานว่าทำให้รู้จักและทราบข้อมูลความสำคัญของถ้ำเขาหลวงและสถานที่เกี่ยวข้องในบริบทประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมมากขึ้น อยากไปเยี่ยมชมถ้ำเขาหลวงมากขึ้น และคิดว่าสื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นนี้ตอบโจทย์การพัฒนาสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมอย่างยิ่ง
นอกจากนี้หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการถ้ำเขาหลวงและสถานที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่
องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย วัดบุญทวี (วัดถ้ำแกลบ) สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พระนครคีรี ได้นำเอาสื่อการเรียนรู้ประเภทต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานของตนด้วย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้กล่าวได้ว่าโครงการวิจัยนี้ได้ค้นคว้าข้อมูลความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของถ้ำเขาหลวงและสถานที่เกี่ยวเนื่องอย่างละเอียด ผลที่ได้นี้ได้นำไปผลิตสื่อการเรียนรู้
ประเภทต่างๆ ซึ่งจากการทดลองใช้และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเห็นว่าสื่อเหล่านี้ได้ตอบโจทย์การพัฒนาสถานที่นี้ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมได้ในที่สุด This research has two aims: 1) to study the significance of Khao-luang Cave in various
aspects, especially some related beliefs and its relationship with the Siamese court in the reigns of King Rama IV and V; 2) to publicize the knowledge, gained from the first mission, through chosen media and activities. These two aims would finally lead Khao-luang Cave to be a historical, art and cultural learning source.
From the research, it is discovered that Khao-luang and its related nearby sites have
been used as religious places since the early Ayutthaya period. In the Rattanakosin period, it
had a close relationship with the kings and some royal members in the Chakri dynasty. King
Mongkut and King Chulalongkorn visited this cave in order to hold merit activities and had
many religious relics of the cave renovated. Some members of the royal family also joined
these activities. It can be said that Khao-luang Cave has many more Buddha images made by
the court than other places. Furthermore, some Thai and foreign renowned persons travelled here as well.
Due to the aforementioned value and significance, the researching team realized that Khao-luang Cave and its related sites can be developed as a historical, art and cultural learning source. In order to accomplish this aim, the team collect various data from tourists and staffs of related organizations. The data includes their knowledge on Khao-luang Cave and their ideas on choosing media for publicizing the knowledge. After integrating and analyzing all data, the team chose five kinds of media, namely 1) brochure 2) handbook 3) online short films 4) infographic and 5) Facebook page.
All chosen media were open to the public through various ways and were evaluated in the aspect of its usefulness by users. The result of evaluation shows that all the media helped users more realize the historical and artistic importance of Khao-luang Cave and its nearby sites. Those media also encouraged the users to visit this cave and complied with developing this place as a historical, art and cultural learning source.
Moreover, those media are also used by the organizations responsible for this cave such as Thongchai Provincial Administration Organization, Boonthavi Temple (Tham Glab Temple), the 1st Regional Office of Fine Arts and Phra Nakhon Khiri National Museum.
Therefore, it can be said that this research project portrays the historical, artistic and cultural significance of Khao-luang Cave and its nearby sites in detail. The result of this research is publicized through various media. After the trial of those media, and the interview with their users, it can be said that those media are very suitable for the development of this site as a historical, art and cultural learning source.
Type:
Award:
ผลงานโดดเด่นคณะโบราณคดี ปี 2563
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
383
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
เพชรบุรีกับการพัฒนาการท่องเที่ยว กรณีศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรี ผลกระทบและประโยชน์ที่มีต่อจังหวัดเพชรบุรี
Collection: Theses (Master's degree) - Sanskrit / วิทยานิพนธ์ - ภาษาสันสกฤตType: Thesisจันทรา แฮวอู (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1990) -
Creative Tourism for Elderly Tourists in the old town area along the Phetchaburi River, Phetchaburi Province
Collection: Theses (Ph.D) - Tourism Management / ดุษฎีนิพนธ์ – การจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์Type: Thesisพิมพ์เดือน สุวรรณ (Silpakorn University, 4/7/2023)The purpose of this research was to study a creative tourism model in the old town along the Phetchaburi River. to accommodate elderly tourists and presents a creative tourism route in the old town community along the ... -
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับตำรวจภูธร จังหวัดเพชรบุรี
Collection: Theses (Master's degree) - Teaching English/Teaching English as a Foreign / วิทยานิพนธ์ – การสอนภาษาอังกฤษ/การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศType: Thesisคนึงนิจ ศรีโตกลิ่น; Kanoengnit Sritoklin (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2006)