การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม และประติมากรรมในศาลเจ้าแม่ทับทิม เขตบางขุนเทียน
Author:
Advisor:
Date:
2020
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
รายงานการค้นคว้าส่วนบุคคลนี้ มีวัตถุปะสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม และประติมากรรมในศาลเจ้าแม่ทับทิม เขตบางขุนเทียน เนื่องด้วยจากการที่ได้ศึกษาเอกสารของนักวิจัยท่านอื่น ๆ พบว่าศาลเจ้าแห่งนี้ยังไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดว่าสร้างโดยชาวจีนกลุ่มใดและสร้างเมื่อใด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นประเด็นสำคัญที่นามาศึกษาต่อเพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดที่ลึก และชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อทราบถึงกลุ่มชาวจีนและปีที่สร้างศาลเจ้าแล้ว จึงนาไปวิเคราะห์ต่อว่ารูปแบบงานศิลปกรรมของศาลเจ้ามีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของชาวจีนกลุ่มดังกล่าวอย่างไร มีรูปแบบ ความเชื่อที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนกลุ่มนั้นหรือไม่ โดยการศึกษาจะใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมที่ประเทศจีน และศาลเจ้าของชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของรายงานการค้นคว้าส่วนบุคคลเล่มนี้
การศึกษาจะใช้การรวบรวมและค้นคว้าข้อมูลเอกสารเบื้องต้น การออกภาคสนามเพื่อเก็บภาพถ่ายและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำมาวิเคราะห์ นอกจากนี้ศึกษาภาพถ่ายของสถาปัตยกรรมจีนทางตอนใต้ เพื่อทำการเปรียบเทียบจากข้อมูลทั้งหมด ทำให้พบว่าศาลเจ้าแม่ทับทิม บางมด ช่างยังคงรักษารูปแบบการสร้างศาสนสถานดั้งเดิมของจีนไว้อยู่ เช่น การวางผังอาคารแบบสี่เรือนล้อมลาน, ใช้ด้านยาวเป็นด้านหน้า ด้านกว้างเป็นด้านข้าง และทำผังเป็นอักษรจีน เป็นต้น
จากการศึกษาได้ข้อสรุปว่าศาลเจ้าแห่งนี้สร้างโดยชาวจีนกลุ่มไหหลำ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงชาวจีนกลุ่มดังกล่าว คือ ส่วนของหน้าบัน, ผนังด้านหน้าอาคารทางเข้า และประติมากรรมภายในศาลเจ้า เช่น เจ้าแม่ทับทิม เจ้าแม่ไทหวา และเจ้าพ่อพี่น้อง 108 องค์ แต่อย่างไรก็ตามยังพบการปะปนรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาวจีนกลุ่มอื่น ได้แก่ ชาวจีนกลุ่มแต้จิ๋ว เช่น สันหลังคาแอ่นโค้ง ด้านบนประดับพรรณพฤกษา และหน้าบันธาตุไฟซ้อนทับลงบนหน้าบันธาตุทอง เป็นต้น ชาวจีนกลุ่มฮกเกี้ยน เช่น การเจาะหน้าต่างทรงเรขาคณิต พบการผสมผสานของสถาปัตยกรรมไทย เช่น ส่วนของโครงสร้างรับน้าหนักหลังคา เรียกว่า “ไม้จันทัน” และนอกจากนี้เนื่องด้วยศาลเจ้าแห่งนี้สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2511 ทำให้ปรากฏสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่ช่างสมัยใหม่นิยมนามาสร้างด้วย
ดังนั้นจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าศาลเจ้าแม่ทับทิม มีการผสมผสานรูปแบบที่หลากหลายจากความเชื่อของชาวจีนหลายๆกลุ่ม น่าจะเป็นเพราะพื้นที่ที่ศาลเจ้าตั้งอยู่นั้นมีชาวจีนหลายกลุ่มภาษาอาศัยอยู่ร่วมกัน จึงอาจเกิดการรับเอารูปแบบมาผสมรวมกัน นอกจากนี้อาจเป็นเพราะช่างได้เกิดการหลงลืม และไม่เข้าใจในวัฒนธรรมรูปแบบเก่า จึงทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลงไป
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
820