การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดและการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
ชื่อเรื่องอื่น:
An integrated e-learning instructional model using cognitive tools for collaborative learning and problem-based learning to enhance thinking skills and teamwork skills of Rajabhat University’s pre-service teachers
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2016
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างรูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้
การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดและการท างานเป็นทีมของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
2. ศึกษาคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทาง
ปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลัก 3. ศึกษาคะแนนทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียน
การสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลัก 4. ศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2559 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1. แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2. แบบสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงสำหรับอาจารย์และนักศึกษา 3. รูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดและการท างานเป็นทีมของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 4. แผนการจัดการเรียนรู้ 5. บทเรียนอีเลิร์นนิง 6. แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 7. แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา 8. แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม 9. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลักมีชื่อว่า “EICCP Model” มีองค์ประกอบ ได้แก่ 1. เทคโนโลยี(Cognitive Tool) 2. เนื้อหา 3. สภาพแวดล้อมการใช้งาน 4. ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนของรูปแบบ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นเตรียมการเรียนอีเลิร์นนิง 2. ขั้นปฐมนิเทศ 3. ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง 4. ขั้นการวัดและประเมินผล โดยขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจประเด็นปัญหา ขั้นที่ 3 รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 4 เลือกแนวทางแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 น าเสนอแนวทางการแก้ปัญหา
2. คะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลักหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. คะแนนทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลักหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลักอยู่ในระดับมาก (x = 4.44, S.D. = 0.05) The research objectives were; 1. to develop e-Learning model integration collaborative learning and problem-based learning (EICPP model) 2. to study the score of the critical thinking skill from using the e-Learning model integration collaborative learning and problem-based learning 3. to study the score of problem solving thinking skill from using the e-Learning model integration collaborative learning and problem-based learning 4. to study the teamwork skill from
using the e-Learning model integration collaborative learning and problem-based learning The samples were 33 undergraduate students registering the Innovation and Information Technology in Education course, in the first semester of 2016 academic year, from Sample Random Sampling. The research instruments were 1. an interview for experts
2. a questionnaire for e-learning management needs 3. EICPP model 4. lesson plans for EICPP model 5. e-Learning lessons 6. the critical thinking skill test 7. the problem solving thinking skill test 8. The assessment for teamwork skill 9. a questionnaire about student’s opinions for EICPP model.
The results of the study revealed as follows:
1. The e-Learning Instructional Model comprised 1.technology 2.content 3.learning environment 4.LMS; which contained 5 stages: 1. preparation for e-Learning stage 2.orientation stage 3.operational stage 4.evaluation stage and the operational stage which contained 5 steps: 1. setting problems 2. understanding problems 3. collecting and analyzing problems 4. Selecting solutions and 5. giving guidelines for problem solving.
2. The scores of critical thinking skill were statistically significant higher than before the implementation at .05.
3. The scores of problem solving thinking skill were statistically significant higher than before the implementation at .05.
4. The teamwork skill in the e-Learning model integration collaborative learning and problem-based learning was at a high level (x = 4.44, S.D. = 0.05).
คำบรรยาย:
ง-ฏ, 321 แผ่น : ภาพประกอบสี, ตาราง
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชา:
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
717
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Architectural Heritage Management and Tourism / วิทยานิพนธ์ - การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยวประเภทผลงาน: Thesisมนสิชา เปล่งเจริญศิริชัย; Monsicha Plengcharoensirichai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014) -
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ท 32101 ภาษาไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Teaching Thai Language / วิทยานิพนธ์ – การสอนภาษาไทยประเภทผลงาน: Thesisสุนันท์ กล่อมฤทธิ์; Sunan Klomrit (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004) -
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนและแบบการเรียนที่มีต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีเรียนแบบประชุมทางคอมพิวเตอร์
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Educational Technology / วิทยานิพนธ์ – เทคโนโลยีการศึกษาประเภทผลงาน: Thesisขวัญอรุณ สถากุลเจริญ; Kwanaroon Sathakulcharoen (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2001)