พัฒนาการของงานเครื่องประดับยุคสมัยใหม่และยุคหลังสมัยใหม่
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2017-06-06
สำนักพิมพ์:
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
บทความนี้ต้องการนำเสนอพัฒนาการและรูปแบบงานเครื่องประดับยุคสมัยใหม่และยุคหลังสมัยใหม่อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมเชื่อมโยงมาสู่พัฒนาการของรูปแบบงานศิลปกรรมและเครื่องประดับ ชี้ให้เห็นว่าบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปมีผลเป็นอย่างมากต่อแนวความคิดของศิลปินในยุคนั้นๆ จึงต้องการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสังคมตามเกณฑ์แบบยุโรปเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนพัฒนาการและสาระสำคัญของเครื่องประดับยุคหลังสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับสุนทรียศาสตร์หรือผลงานทัศนศิลป์ที่ส่อแสดงให้เห็นถึงปรัชญาสะท้อนแนวคิดอันกระตุ้นให้เกิดปัญญา
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอันสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิธีคิดของมนุษย์ เช่นเดียวกับงานศิลปกรรมและเครื่องประดับที่ศิลปินนั้นได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีคิดเรื่อยมาจนแยกงานศิลปะออกจากศาสนาโดยสิ้นเชิง เช่น รูปแบบของเครื่องประดับยุคสมัยใหม่ตอนต้นที่พูดถึงการลดรูปและตัดทอนรายละเอียด งานเครื่องประดับของชนชั้นสูงแบบประเพณีนิยมถูกจับมาแยกชิ้นและถูกครอบครองโดยผู้มีฐานะทางสังคม ไม่มีการพูดถึงราชวงศ์หรือพระเจ้าอีกต่อไป สืบเนื่องจากการปฏิวัติระบบกษัตริย์ในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษ 20 เป็นต้นมายุโรปได้ขึ้นถึงอำนาจสูงสุดทั้งทางด้านเศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรม มีการค้นพบวิทยาการที่ก้าวหน้ามากมายงานศิลปกรรมจึงมีการลดรูป เหลือเพียงการแสดงออกทางอารมณ์ จนกลายเป็นศิลปะนามธรรม ส่งผลต่องานเครื่องประดับแบบอาร์ตเดคโคที่มีการจัดวางของเส้นที่คมชัด แม่นยำ มีรูปทรงที่เป็นเรขาคณิต
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้รูปแบบงานเครื่องประดับจะเกิดการชะงัก แต่ยังคงมีกลุ่มนักคิดที่เติบโตขึ้นในสังคมที่แสวงหาแนวทางใหม่ของศิลปะ รูปแบบงานเครื่องประดับจึงเกิดจากมนุษย์ที่เชื่อมั่นในเสรีภาพและความหลากหลายทางความคิดได้ผลักดันให้เกิดสุนทรียศาสตร์หน้าใหม่ ทำให้งานเครื่องประดับมีบทบาทต่อสังคม เป็นรูปแบบเครื่องประดับที่แสดงออกในเชิงนามธรรม เป็นรูปทรงที่ต้องการการตีความ เป็นการตั้งคำถามกับผู้ที่สวมใส่ซึ่งต้องใช้สติปัญญาในการพิจารณางานมากขึ้น จนเข้าสู่พัฒนาการและสาระสำคัญของเครื่องประดับยุคหลังสมัยใหม่ที่มีการสร้างสรรค์ผ่านแนวคิดที่หลากหลาย มีการใช้วัสดุที่แปลกใหม่เพื่อสื่อความหมายหรือสื่อให้เห็นสัญลักษณ์บางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ หรือการระลึกถึงห้วงเวลาของความเป็นชีวิตประจำวันและความเป็นปัจเจก อันมีสาระสอดคล้องกับสุนทรียศาสตร์หรือผลงานทางทัศนศิลป์ ที่ส่อแสดงให้เห็นถึงปรัชญา แนวความคิดของพลังเสรีนิยม This article aims to present an impact of social development from modern to post-modern on jewellery design. Changing social context always affects the way artists perceive the world. The article attempts to explain how Europe-centric social norms stimulate philosophical ideas and messages behind post-modern jewellery.
Technological advance as a result of the Industrial Revolution in Europe changes social values and people’s thinking process. Similarly, fine arts and jewellery has evolved over time until motives behind its production are clearly separated from a religious purpose. Examples can be seen from simplification of forms in early modern jewellery or dismantling of traditional high court jewellery following the French revolution. Gods and monarchy are no longer subjects for art. From the middle of the 20th century, Europe has become the most powerful region economically, socially and artistically. Knowledge advancement in different areas leads to reduction in forms which are is expressed – to the point of it becoming abstract. This results in Art Deco style which emphasises on sharpness, accuracy and geometrical shapes.
Though art production is somewhat suspended because of the World War II, some groups of people continue to search for a new form of expression. As a result, art work in this period is created from the belief in freedom and diversity. Jewellery also becomes more abstract and requires interpretations. It asks questions which its wearers need to contemplate on answers. Different materials are used communicate or symbolises meanings. Individualism and ordinary life is portrayed through art and aesthetics which celebrate liberalism.
ประเภทผลงาน:
ปรากฎใน:
Veridian E-Jourmal Silpakorn University : ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2560 :2506-2520)
ช่วงเวลา:
ยุคสมัยใหม่
ยุคหลังสมัยใหม่
ยุคหลังสมัยใหม่
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
371