จารึกและเอกสารไทยสมัยอยุธยา : การศึกษาเชิงอักขรวิทยา
Other Title:
Thai inscriptions and manuscripts in the Ayutthaya period : a palaeographical study
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้ง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการรูปอักษรและอักขรวิธีของอักษร
ไทยสมัยอยุธยา โดยใช้หลักฐานทั้งที่เป็นจารึกและเอกสารต้นฉบับตัวเขียน (manuscript)
จำนวนทั้งสิ้น 70 รายการ
ผลการศึกษาจารึกและเอกสารไทยสมัยอยุธยาพบว่า อักษรไทยสมัยอยุธยารับ
มาจากอักษรไทยสมัยสุโขทัย พบใช้อยู่ในขอบเขตของอาณาจักรอยุธยา และยังใช้สืบต่อมาใน
สมัยรัตนโกสินทร์ อักษรไทยที่ใช้ในสมัยอยุธยามี 2 ชนิด คือ อักษรไทยอยุธยาแบบธรรมดา
และอักษรไทยย่อ
อักษรไทยอยุธยาแบบธรรมดาพบการใช้ตลอดสมัยอยุธยากว่า 400 ปี สามารถแบ่ง
ตามลักษณะร่วมของรูปอักษรได้เป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ระยะที่สอง
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ระยะที่สามช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ระยะที่สี่ช่วง พ.ศ. 2201-2280 และ
ระยะที่ห้าช่วง พ.ศ. 2281-2310 ส่วนอักษรไทยย่อ เริ่มปรากฏการใช้ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 23
สันนิษฐานว่าพัฒนามาจากอักษรไทยอยุธยาแบบธรรมดาลายมือบรรจงที่ใช้ในราชสำนัก พบ
การใช้ในเอกสารสำคัญต่างๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลายราว 100 ปี สามารถแบ่งตามลักษณะร่วม
ของรูปอักษรได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งช่วง พ.ศ. 2201-2270 และระยะที่สอง พ.ศ. 2271-
2310
อักขรวิธีที่ใช้กับอักษรไทยสมัยอยุธยาทั้ง 2 ชนิด ไม่ต่างกันมาก ส่วนประกอบ
สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ พยัญชนะ สระ ตัวเลข วรรณยุกต์ เครื่องหมาย
ประกอบการเขียน และอักขรวิธีพิเศษ ในด้านการผสมอักษรรูปคำพยางค์เดียวสามารถเกิดจาก
ส่วนประกอบตั้งแต่ 1 จนถึง 4 ส่วน ขณะที่การผสมอักษรรูปคำหลายพยางค์ทำได้โดยการนำ
คำพยางค์เดียวตั้ง แต่ 2 คำ มาเรียงต่อกัน
ทั้งนี้ ผลการศึกษาพัฒนาการรูปอักษรและอักขรวิธีสามารถนำไปใช้ช่วยสันนิษฐาน
อายุข้อมูลที่ไม่ปรากฏศักราชได้
Description:
ก-ต, 494 แผ่น
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
จารึกศึกษา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
1028