พระพุทธรูปหมวดพระพุทธชินราช : แนวทางการศึกษาและจัดกลุ่มรูปแบบ
Other Title:
The image of Buddha Phra Phuttha Chinnarath Category :Research methodology and data organization
Author:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบทางศิลปะของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย สกุลช่างพิษณุโลก หรือ หมวดพระพุทธชินราช โดยศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสกุลช่างต่าง ๆ และบริบททางประวัติศาสตร์ ในช่วงระยะเวลาของการเกิดรูปแบบทางศิลปะนี้ขึ้นมาที่เมืองพิษณุโลก ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกันกับหลักฐานด้านเอกสาร พร้อมทั้งเสนอแนะประเด็นใหม่ ที่ควรมีการศึกษาต่อไปด้วย
ผลการศึกษาวิจัย สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1. พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ที่พบอยู่ในหมวดพระพุทธชินราช จะมีพระพักตร์กลม พระวรกายที่อวบอ้วน และมีการทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ให้มีความยาวเสมอกันเหมือนกับพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้นเฉพาะพระพุทธรูปสกุลช่างพิษณุโลกเท่านั้น โดยมีพัฒนาการมาจากพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่
2. สามารถจำแนกพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช ที่ประดิษฐานอยู่ตามพระอารามต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครได้ โดยใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการศึกษาทางรูปแบบศิลปะ
3. การทำนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ให้มีความยาวเสมอกันของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช เป็นรูปแบบศิลปะเฉพาะของสกุลช่างพิษณุโลกที่เกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยสุโขทัยในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 และเป็นแบบอย่างทางศิลปะให้กับศิลปะในสมัยหลังต่อมา This research aimed to study the artistic styles of the Sukhothai-period Buddha images from the guild of Phitsanulok master craftsmen, also classed as the Phra Buddha Chinnaraj category. The study explored the relations between different guilds of master craftsmen and historical contexts during the period when this artistic style was originated in the city of Phitsanulok. The study and analysis were done with the help of documentary evidence, and new aspects of exploration were suggested for further studies.
The research findings could be summarized as follows :
1. Sukhothai-period Buddha images in the Phra Buddha Chinnaraj category featured a round visage and curvy torso. Moreover, the four fingers in each hand were made to be of the same length, in the same style as those of Phra Buddha Chinnaraj, a unique feature of Buddha images by Phitsanulok master craftsmen that had evolved from the Sukhothai-style Buddha images in the ‘Big’ or popular, category.
2. Sukhothai-period Buddha images in the Phra Buddha Chinnaraj category in various Buddhist temples in Bangkok could be classified based on historical evidence together with studies on artistic styles.
3. Crafting the four fingers in each hand of the Buddha image to be of the same length was a unique artistic style of the guild of Phitsanulok master craftsmen that was originated in the late Sukhothai era in mid twentieth-century B.E. This style was adopted as an artistic model for arts in later periods.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
2449