คู่มือการออกแบบปรับปรุง อาคารภาครัฐที่มีอยู่เดิมให้เป็นอาคารเขียวภาครัฐ
ชื่อเรื่องอื่น:
GREEN GOVERNMENT OFFICE DESIGN GUIDELINEs
for MAJOR RENOVATION
G-GOODs : RV
วันที่:
2019
บทคัดย่อ:
การออกแบบหรือการปรับปรุงอาคารให้เป็นอาคารเขียว (green building) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้
การก่อสร้างและการใช้อาคารเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยต้องครอบคลุมถึงการใช้พลังงานอย่าง
มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถลดผลกระทบเชิงลบ และเกิดผลดีในด้านบวกต่อสภาพอากาศและ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทาให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งการดาเนินการดังกล่าวต้องคานึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
ตลอดระยะเวลาในการใช้ประโยชน์ของอาคาร ตั้งแต่การเลือกตาแหน่งที่ตั้งอาคาร การออกแบบ การก่อสร้าง
การใช้งาน การบารุงรักษา การดัดแปลง จนกระทั่งการรื้อถอนอาคาร การก่อสร้างและปรับปรุงอาคารเพื่อให้
เป็นอาคารเขียว เป็นแนวทางที่ประเทศต่างๆ มุ่งหวังและดาเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้าง
คุณภาพในการออกแบบก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การออกแบบหรือการปรับปรุงอาคารภาครัฐให้เป็นอาคารเขียวถือว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สาหรับ
ประเทศไทย กรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในด้านการออกแบบอาคารให้ปลอดภัย
น่าอยู่ มีอัตลักษณ์ ประหยัดพลังงาน และรักษาสภาพแวดล้อม ยังมิได้จัดทาเกณฑ์และคู่มือสาหรับอาคารเขียว
ภาครัฐไว้ เนื่องจากการกาหนดเกณฑ์สาหรับการออกแบบและการปรับปรุงอาคารเขียวภาครัฐ เป็นงาน
ที่มีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับงานด้านสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม
หลากหลายสาขา กรมโยธาธิการและผังเมือง ในฐานะหน่วยงานภาครัฐได้คานึงถึงการออกแบบอาคารภาครัฐ
ในเรื่องของการประหยัดพลังงานและผลกระทบที่อาจเกิดต่อสภาพแวดล้อมรวมถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด จึงได้ดาเนินการจ้างที่ปรึกษาดาเนินการศึกษา ออกแบบ และจัดทาข้อกาหนดในการออกแบบ
และปรับปรุงอาคารภาครัฐให้เป็นอาคารเขียว และได้จัดให้มีการจัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าว
ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดทาคู่มือการออกแบบและการปรับปรุงอาคารภาครัฐให้เป็นอาคารเขียว
โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลและผลที่ได้จากการดาเนินการภายใต้โครงการ เพื่อเป็นตัวอย่างหรือแนวทาง
ในการปฏิบัติที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย โดยบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนาไปใช้ปฏิบัติได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
ประเภทผลงาน:
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
229