กระบวนการทำนาฏกรรมท้องถิ่นเป็นสินค้า : โนราหางเครื่อง คณะโนราศรีธน ธนนชัย
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2019
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการทำโนราหางเครื่องเป็นสินค้า
ทางวัฒนธรรมของคณะโนราศรีธน ธนนชัย และ 2) ศึกษาวิธีการอนุรักษ์การแสดงโนราของคณะโนรา
ศรีธน ธนนชัย งานศึกษาชิ้นนี้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยาด้วยแนวคิด
ทุนทางวัฒนธรรม และกระบวนการทำวัฒนธรรมเป็นสินค้า โดยกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา แบ่งออกเป็น
2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มสมาชิกคณะโนราศรีธน ธนนชัย จำนวน 5 คน และ กลุ่มที่สอง กลุ่มผู้บริโภค
ได้แก่ ผู้ว่าจ้างคณะโนราศรีธน ธนนชัยไปแสดงโนราหางเครื่อง จำนวน 1 คน และผู้ชมโนราหางเครื่อง
คณะโนราศรีธน ธนนชัย จำนวน 3 คน
ผลจากการศึกษาพบว่า โนราหางเครื่องเป็นสินค้าวัฒนธรรมที่เกิดจากการปรับตัวของผู้
ประกอบอาชีพโนราที่นำความรู้ ความสามารถทางด้านการแสดงโนรามาต่อยอดเป็นการแสดงโนรา
รูปแบบใหม่เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพโนรายังคงมีรายได้ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง กระแสการอนุรักษ์
วัฒนธรรมท้องถิ่นทำให้กระบวนการทำวัฒนธรรมเป็นสินค้าต้องปรับตัว ไม่สร้างผลกระทบในแง่ลบต่อ
วัฒนธรรมดั้งเดิมมากเกินไป ทำให้ผู้แสดงโนราหางเครื่อง คณะโนราศรีธน ธนนชัย ต้องตระหนักถึงคุณค่า
และ แก่นแท้ของการแสดงโนราในทุกขั้นตอน ผลที่ได้จึงเป็นการอนุรักษ์การแสดงโนราในรูปแบบใหม่
เพราะทำให้วัฒนธรรมการแสดงโนราได้รับความสนใจ เป็นที่นิยมอยู่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โนราหางเครื่องจึง
เป็นสินค้าวัฒนธรรมที่ทำให้วัฒนธรรมการแสดงโนรายังคงอยู่ต่อไปในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชามานุษยวิทยา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
648