วัฒนธรรมแฟนของวงไอดอลญี่ปุ่นในสังคมไทย กรณีศึกษา กลุ่มโอตะวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
Author:
Advisor:
Date:
2018
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่อง “วัฒนธรรมแฟนของวงไอดอลญี่ปุ่นในสังคมไทย กรณีศึกษา กลุ่มโอตะวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต” มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึงการแพร่กระจายของวัฒนธรรมดนตรีญี่ปุ่น (J-pop) พัฒนาการของศิลปินรูปแบบไอดอล และที่มาของไอดอลวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตในสังคมไทย เพื่อศึกษาถึงสาเหตุและพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับไอดอลวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตของเหล่าโอตะ และเพื่อศึกษาถึงสาเหตุและพฤติกรรมในการรวมกลุ่มของโอตะวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตในพื้นที่ทางกายภาพ และพื้นที่ออนไลน์ ใช้วิธีการศึกษาผ่านกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกคนที่มีการติดตามไอดอลวง บีเอ็นเคโฟร์ตีเอตอย่างสม่าเสมอ มีการบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับไอดอลวงดังกล่าว รวมถึงมีการเข้าร่วมในกลุ่มแฟนคลับ โดยผู้ศึกษาเลือกเก็บข้อมูลในกลุ่มบ้านผ้ากันเปื้อน กลุ่มแฟนของตาหวาน (อิสราภา ธวัชภักดี) สมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตรุ่นที่ 1 สำหรับการเก็บข้อมูลจำนวน 10 คน
ผลการศึกษาพบว่าดนตรีญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาในสังคมไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2525 โดยคงอยู่ในสังคมไทยเรื่อยมา จนปี พ.ศ. 2548 เกิดไอดอลวงเอเคบีโฟร์ตีเอตขึ้นที่ญี่ปุ่น โดยวงดังกล่าวก็ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่นรวมถึงในกลุ่มคนไทย ทั้งนี้ เกิดขึ้นในกลุ่มเฉพาะเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2560 เกิดไอดอลรูปแบบเดียวกับเอเคบีโฟร์ตีเอตขึ้นในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต เพียงไม่นานไอดอลวงนี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นในสังคมไทยและเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากผลงานเพลงคุกกี้เสี่ยงทาย ทำให้เกิดแฟนคลับที่มีชื่อเรียกว่าโอตะขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยโอตะถือเป็นแฟนคลับที่มีการติดตามอย่างเข้มข้นปรากฏให้เห็นผ่านสื่อทั้งหลาย เช่น ข่าวโอตะจำนวนมากต่อคิวเข้าร่วมงานของวง หรือข่าวการประมูลสินค้าของทางวงด้วยราคาสูง เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า การบริโภคของโอตะวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตมีสาเหตุมาจากความชื่นชอบในสมาชิกวง โดยการบริโภคเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนความชื่นชอบที่มีต่อสมาชิก สำหรับพฤติกรรมการบริโภคด้วยเงื่อนไขของอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ส่งผลให้โอตะวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตสามารถที่จะเลือกรับและตีความการบริโภคได้ด้วยตนเอง โดยอยู่นอกเหนือสิ่งที่ทางผู้ผลิตได้ในความหมายไว้ ส่วนการร่วมกลุ่มของโอตะวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต สาเหตุสำคัญเกิดขึ้นจากความชื่นชอบในสมาชิกวงเช่นกัน โดยกลุ่มแฟนอย่าง “บ้านผ้ากันเปื้อน” มีการรวมกลุ่มมาจากคนที่ชอบตาหวาน สมาชิกวงรุ่นที่ 1 เหมือนกัน เมื่อรวมกลุ่มจึงได้สร้างสัญลักษณ์ และกาหนดพื้นที่ของกลุ่มเพื่อการสื่อสารกัน สำหรับพฤติกรรมในการรวมกลุ่ม มักเป็นพฤติกรรมร่วมที่เกิดขึ้นเพื่อแสดงออกในความเข้มข้นของการเป็นแฟน และแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของกลุ่ม และการเป็นโอตะวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชามานุษยวิทยา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
3531