ภาพสัญลักษณ์มงคล ฮก ลก ซิ่ว : คติความเชื่อแบบจีนในงานศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 3
Subject:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อแบบจีนเกี่ยวกับภาพสัญลักษณ์มาคล ฮก ลก ซิ่ว ในงานศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 โดยศึกษาผ่านงานประติมากรรมและจิตรกรรมตัวอย่าง 4 แห่ง คือ วัดนางชี วัดนาคกลาง วัดนางนอง และวัดภคินีนาถ
ในการศึกษาวิจัย สามารถสรุปได้ว่า
1. คติความเชื่อและความนิยมใช้ภาพสัญลักษณ์มงคลปรากฏในไทยตั้งแต่อดีต โดยพบบนเครื่องถ้วยจีน ซึ่งสร้างสรรค์ลวดลายตามภาพสัญลักษณ์มงคล ฮก ลก ซิ่ว
2. คติความเชื่อเรื่องภาพสัญลักษณ์มงคล ฮก ลก ซิ่ว ปรากฏอย่างเห็นได้ชัดในสมัยรัชกาลที่ 3 เนื่องจากปัจจัยหลายประการ คือ ความนิยมประเทศจีนที่เกิดขึ้นในกลุ่มชนชั้นนำ การที่ศิลปะจีนเป็นศิลปะแบบพระราชนิยม และบทบาทของชาวจีนในสังคมไทย
3. ชาวจีนที่เข้ามาในไทยทั้งพ่อค้า ขุนนาง หรือ ช่างจีน ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับจีน และสะท้อนอิทธิพลดังกล่าวในสังคมไทย
4. รูปแบบและความนิยมดังกล่าวยังคงหลงเหลืออยู่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนที่จะค่อย ๆ จางหายไปเมื่ออิทธิพลของศิลปะตะวันตกเข้ามาในไทย The purpose of this research is to study of the concept and form of the Chinese auspicious symbolic pictures in artistic works in the reign of King Rama III. The study emphasizes the group of decorative art and mural paintings from Wat Nangchee, Wat Nakklang, Wat Nangnong and Wat Phakineenat.
The result of the study can suggest that :
1. Concept and inspiration of the auspicious symbolic pictures could be found from the past, on China ware that was painted in concept of Chinese auspicious symbolic pictures.
2. Concept of the auspicious symbolic pictures were found obviously in the reign of King Rama III. The reasons leading to the appearance of this style are ; Thai elites’ fondness for Chinese Art, King Rama III favored the Chinese Art remarkably, the role and influence of Chinese people in Thai society.
3. Chinese people such as merchants, officers and Chinese artisans associated socially between Thai and Chinese in both culture.
4. This form and inspiration also found in the reign of King Rama IV and was faded when the influence of Western Art was widespread in Thailand.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
1622