ทุนทางวัฒนธรรมในอาชีพครูสอนเปียโน ณ โรงเรียนดนตรีแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2018
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาชิ้นมุ่งทำความเข้าใจเรื่องทุนทางวัฒนธรรมในอาชีพครูสอนเปียโน ณ โรงเรียนดนตรีแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของเปียโน ดนตรีตะวันตก การแพร่กระจายมาในสังคมไทยจนเป็นที่นิยมและศึกษาการก้าวเข้าสู่อาชีพครูสอนเปียโน โดยวิเคราะห์ผ่านการสะสมทุน และทุนทางวัฒนธรรมของปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) ผ่านการสัมภาษณ์ครูสอนเปียโนในโรงเรียนดนตรีจำนวน 8 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การก้าวสู่การเป็นครูสอนเปียโนนั้นเป็นผลพวงจากดนตรีคลาสสิกของชาติตะวันตกที่เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อตั้งแต่รัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลที่ 6 อิทธิพลต่าง ๆ ที่มีจุดเริ่มต้นจากอิทธิพลทางด้านทหาร ทำให้ดนตรีตะวันตก การเรียนดนตรีและการสอนดนตรีตะวันตก ซึ่งในช่วงเวลานั้นคือดนตรีคลาสสิก เกิดขึ้นและมีความเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน เพราะประเทศไทยต้องปรับตัวให้เข้ากับชาติตะวันตกเพื่อให้ไม่ตกเป็นอาณานิคม นอกจากนี้ครูสอนเปียโนนั้นเป็นผลพวงจากการเป็นนักเรียนเปียโน ซึ่งการเรียนเปียโนนั้นใช้เวลาในการเรียนและฝึกฝนเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ยังเด็กจนกระทั่งโต จนสิ่งที่หล่อหลอมนั้นเป็นหนึ่งเดียวกับผู้เรียน ทำให้ผู้คนทั่วไปมักคิดว่าเป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด นอกจากนี้ความคิดเห็นในดนตรีคลาสสิกของคุณครูทั้ง 8 คนนั้นมีความแตกต่างกับคนทั่วไป อีกทั้งผู้มีความสามารถด้านดนตรีเหล่านี้ได้แสดงความสามารถและได้รับการยอมรับการสถาบันสากลด้านดนตรี
Trinity London College ของประเทศสหราชอาณาจักรโดยเป็นประกาศนียบัตร อีกทั้งคุณครูทั้ง 8 คนส่งนักเรียนสอบวัดระดับของ Trinity London College ผ่านมาหลากหลายระดับจนเป็นที่ไว้ใจของโรงเรียน อีกทั้งยังพบว่ามีประเด็นต่าง ๆคือ 1. ความพิเศษของเปียโนที่มีต่อผู้ที่เรียนและผู้ที่สอนเปียโน กล่าวถึงสิ่งที่แตกต่างของผู้ที่เรียนเปียโนและผู้สอนเปียโนซึ่งเป็นผลจากการฝึกฝนมานาน 2. เปียโน เมโทรนอม โน้ตเพลง ทุนที่ถูกทำให้เป็นรูปธรรม กล่าวถึงอุปกรณ์ที่เป็นต้องใช้เคียงคู่กับการฝึกฝนความสามารถ 3. ผลของอารมณ์และบุคลิกอันเกิดจากการได้เรียนเปียโน กล่าวถึงผลพวงที่ได้เรียนเปียโนที่ได้มากกว่าความสามารถที่เล่นได้เพียงอย่างเดียว 4. การก้าวสู่การเป็นนักเรียนเปียโน กล่าวถึง เหตุที่ทำให้คุณครูแต่ละคนได้เป็นนักเรียนเปียโน 5. การก้าวสู่การเป็นครูเปียโน กล่าวถึง การที่ได้เป็นครูสอนเปียโน ซึ่งเป็นผลพวงจากการเป็นนักเรียนเปียโน 6. ครูสอนเปียโนนั้นอาชีพที่สุจริต, มั่งคงและมีเกียรติ เป็นผลพวงจากการเป็นครูสอนเปียโนและนำความสามารถมาเป็นรายได้ 7. ข้อจำกัดของการเรียนเปียโน หากแต่ว่าการเรียนเปียโนนั้นไม่ได้ง่ายเหมือนที่เห็น มีความยากลำบากแฝงอยู่เบื้องหลังและความพยายาม อดทน 8.ผลงานการแสดง, ประกาศนียบัตรที่ได้รับการรองรับจากสถาบัน Trinity London College กล่าวถึงความสามารถที่ได้รับการรองรับจากสถาบันสากลว่ามีความสามารถอย่างแท้จริง 9. ผลจากทุนทางวัฒนธรรม กล่าวถึงสิ่งที่ได้รับจากการฝึกฝน เรียนเปียโนมาโดยตลอดของคุณครูทั้ง 8 คน และ10. อนาคตการเรียนเปียโนในสังคมไทยในสายตาของผู้ที่มีความสามารถด้านดนตรี กล่าวถึงมุมมองของการเรียนเปียโนในสังคมไทยที่ก้าวเดินต่อไปว่ามีความเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด This study aims to investigate the influences in the decision to cultural capital in piano teacher at music school in Bangkok, the development of piano as a musical instrument, Western music and its spread into Thai society. In-depth interviews with eight piano teachers, seven females and one male, were conducted. Pierre Bourdieu's concept of cultural capital and its accumulation was selected as an analytical framework. It was found that the decision to become a piano teacher was influenced by classical music entering Thailand during the reign of King Rama IV to Rama VI. During the period, cultural adaptation in Thailand, to avoid colonization by Western countries, was inevitable. Therefore, Western (classical) music education was initiated and continued until now. Moreover, acquiring musical skills requires such a long time and rigorous practice, usually starting from a young age, that the skills become part of an individual. The general public usually perceives these skills as "talent" that cannot be learned. The opinions about classical music differs between the interviewed piano teachers. The teachers showed their skills and passed the exams conducted by Trinity College London, in the United Kingdom, and are able to teach their students to pass the same exam as well.
In addition, these topics were discussed in this study. 1. The effect of piano education to piano students and teacher who practices for a long time, which makes them different form non-learners 2. Objectified cultural capital: piano, metronome, and music sheets as tools for practice 3. Changes in emotions and personality after learning piano: additional benefits other than musical skills 4. The reasons behind the decision to start learning piano 5. The reasons behind the decision to start teaching piano, which come after being a piano student 6. Piano teacher as a respected profession, using musical skills from piano education to earn money 7. Obstacles during piano learning and the efforts required to overcome such obstacles 8. Performances, awards, and certificates from Trinity London College as proofs of acquired skills 9. Benefits of learning piano as profits from cultural capital 10. The future of piano education in Thailand, as compared with the present state.
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชามานุษยวิทยา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
343