ปัจจุบันของพระพุทธรูปนาคปรก
Other Title:
The nowadays of Buddha image under Naga
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและคติความเชื่อของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรกที่มีแต่ครั้งอดีต โดยทำการศึกษาจากเรื่องราวทางพุทธประวัติ ตอนสัตตมหาสถาน ซึ่งเกิดในสัปดาห์ที่ 6 หลังพระพุทธองค์ตรัสรู้ จึงเป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษารูปแบบในหลายศิลปะ เช่น ศิลปะอินเดีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรกตั้งแต่ยุคแรก และผ่านไปยังศิลปะในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะศิลปะในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่หลายช่วงสมัยจวบจนกระทั่งในสมัยปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นการเน้นแนวทางในการสร้างพระพุทธรูปนาคปรกที่เกี่ยวข้องกับงานหล่อโลหะ และการสลักหิน ซึ่งปรากฏถึงการคลี่คลายรูปแบบและคติความเชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
สำหรับงานหล่อพระพุทธรูปนาคปรกในปัจจุบันมีรูปแบบและขั้นตอนในการทำที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ซึ่งในอดีตเป็นงานหล่อแบบโบราณ แต่ปัจจุบันจะเป็นงานหล่อแบบอัดพิมพ์และนำมาเชื่อมประกอบกัน ทั้งนี้การสร้างพระพุทธรูปดังกล่าวนิยมงานพุทธศิลป์แบบสุโขทัยเพราะมีรูปแบบที่สวยงาม อ่อนช้อย และเป็นที่ต้องสั่งทำของลูกค้า ส่วนพระพุทธรูปนาคปรกงานสลักหิน ยังคงนิยมสร้างตามรูปแบบที่ปรากฏตั้งแต่ครั้งอดีต โดยเฉพาะรูปแบบงานพุทธศิลป์ศิลปะแบบลพบุรี ซึ่งเป็นที่นิยมของลูกค้าชาวต่างชาติเน้นเป็นงานประดับมากกว่าการสร้างเพื่อถวายวัด
อย่างไรก็ตามผลที่ได้จากการวิจัยฉบับนี้ได้แสดงถึงแบบอย่างทางศิลปะที่ปรากฏในอดีต และพัฒนาคลี่คลายการสร้างเป็นของตนเองในปัจจุบัน ทั้งนี้เกิดจากการตอบสนองความต้องการของลูกค้า อีกทั้งทราบถึงองค์ประกอบทางด้านธุรกิจ รวมถึงขั้นตอนในการผลิต ตลอดจนช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการและลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในการสั่งทำ The objective of this master report is to study the moral believes in making the Buddha under Naga image in the past. By studying Buddhist history under the section “Sattamahasatan” which took place 6 weeks after the Lord Buddha attained enlightenment, we understand the original beginning in the making of the Buddha under Naga. The researcher studied the form in different art sources such as Indian Art which was the starting point for the making of the Buddha under Naga in the first period. The form was seen and past on to other Asian art especially in Thailand and apprared in many periods. However, this study focuses the guidelines in the moulding and stone-carving Buddha under Naga and unfolds the forms, patterns, and moral believes that has been changed.
The format and steps in moulding the Buddha under Naga today has changed a great deal from the past. Ancient moulding has turned into compression and welding pieces together. The most common Buddhist Art is the Sukhothai style because of its beauty, gentle impression, and demand of the market. Stone-carved Buddha under Naga is still admired with the same traditional style. Buddhist Art “Lop Buri” style is popular among foreigner customers and mostly used for decoration more than religious purposes.
Therefore, the result of this research shows art patterns (forms) appeared in the past and develops into today’s unique style. This is also a reflection to the market’s demand. Other things shown here are business elements, manufacturing stages and marketing channel for entrepreneurs and the target market dealing with orders.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
1056