การศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่จากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
Other Title:
A study of ways of living from the wall painting in the gallery of the emerald Buddha Temple, Bangkok
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่จากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร เนื่องจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้มีการซ่อมแซมมาหลายครั้ง โดยมีภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ที่นอกเหนือจากเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ และภาพน่ารู้อีกส่วนหนึ่งที่สอดแทรกไว้ในแต่ละห้อง เช่น การเย้าแหย่หยอกล้อ การเกี้ยวพาราสี การขายของ การทะเลาะวิวาท หรือกิริยาอาการของกลุ่มวานร โดยการสอดแทรกความสนุกสนานภายในภาพซึ่งช่างเขียนได้วาดไว้เพื่อให้คนได้ติดตามและสนุกไปกับภาพ นอกเหนือจากที่จะได้ดูความงามแต่อย่างเดียว
จากการศึกษาตำแหน่งของภาพกาก และเนื้อหาของภาพกาก ที่ปรากฏที่พระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สรุปได้ว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วาดอยู่ที่พระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดารามปัจจุบัน เป็นฝีมือช่างเขียนสมัยรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 ซึ่งบางห้องนั้นใช้โครงร่างของภาพจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ภาพจิตรกรรมมีรูปแบบศิลปะแบบเก่ากับแบบใหม่(ตะวันตก) เข้ามาผสมกัน ทำให้เห็นถึงความพยายามในการเขียนภาพจิตรกรรมเลียนแบบของเดิม แต่ช่างก็ได้สอดแทรกลักษณะต่างๆ ในสมัยของตนลงไปด้วย จึงเปรียบเสมือนเวทีของช่างสำหรับประชันฝีมือและความคิดของช่างที่ปรากฏในภาพแต่ละห้อง ที่ช่างได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก เรื่องราวจากสิ่งใกล้ตัวตามที่สายตามองเห็นเป็นหลัก นับตั้งแต่สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในชนบทโดยเฉพาะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน อันเป็นหลักฐานที่สะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่ามีงานจิตรกรรมที่ช่างเขียนมักแสดงความรู้สึกกึ่งเสียดสีด้วยในบางครั้ง ความตลกขบขันกึ่งทะลึ่งที่ช่างได้ถ่ายทอดไว้ในจิตรกรรม อนุมานได้ว่า ช่างเขียนไทยมีจินตนาการในการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดความลงตัวได้อย่างน่าพิศวง This independent Study's objective is to study the ways of living from images inside the wall painting at the gallery of the Emerald Buddha Temple, Bangkok. Since The Ramayana
wall painting at the gallery of The Emerald Buddha Temple had been repaired several times, the
ways of living of ordinary people images excluded from the Ramayana story and some interesting
story images had been inserted in each gallery room such as teasing, flirting, selling goods,
quarreling and monkey manners. The painters intervened cheerful things inside the images,
persuading viewers to be happy with the mural painting not only seeing the beautiful painting.
This study investigates the positions and details of mural painting in the wall painting
at the gallery. This study summarizes that the Ramayana wall painting at the gallery of The Emerald
Buddha Temple at present was created by the painters in King Rama 7’s and King Rama 9's periods.
Some gallery rooms use the framework of the painting in King Rama 5's period. As a result. the
wall painting contains the mixture of thai traditional style and modern western style. The painters
tried to keep the original parts in wall painting but also inserted some contemporary images. The
painters transferred their skills. feelings and ideas into each wall painting by using visible things
such as buildings, rural houses and folk ways of living. In addition, the painters put some sarcastic
feelings in many paintings. The painters put some impolite but funny images in their paintings. The
researcher assumes that Thai painters had imagination to joint each chapter together and perfectly
put in the wall painting at the gallery of The Emerald Buddha Temple.
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
1014