ฐานสิงห์ศิลปะอยุธยา
Other Title:
Stylistic of lion base in Ayutthaya art
Author:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษารูปแบบของฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยา โดยการศึกษาจะเริ่มต้นจากที่มาของฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยา และพัฒนาการตั้งแต่ช่วงอยุธยาตอนกลางไปจนถึงอยุธยาตอนปลาย โดยเน้นในงานด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมเป็นหลัก
ผลงานวิจัยพบว่า
1. ในช่วงอยุธยาตอนต้นนั้นไม่ปรากฏฐานสิงห์ พบหลักฐานชัดเจนในช่วงอยุธยาตอนกลางที่ฐานสิงห์วิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งรูปแบบของฐานสิงห์ในช่วงต้นของอยุธยาตอนกลางมีลักษณะคล้ายคลึงกับฐานสิงห์ที่พบในศิลปะสุโขทัย กอปรกับช่วงเวลาดังกล่าวสุโขทัยและอยุธยามีความสัมพันธ์กันทั้งทางเครือญาติและการเมือง ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้อย่างมากว่าฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะสุโขทัย
2. หลังจากปรากฏฐานสิงห์ในช่วงอยุธยาตอนกลางแล้ว ฐานสิงห์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ใช้เป็นส่วนประกอบของเจดีย์รูปแบบต่าง ๆ โดยเป็นส่วนที่รองรับเรือนธาตุหรือองค์ระฆัง และยังใช้เป็นฐานของพระพุทธรูปด้วย นอกจากนี้รูปแบบของฐานสิงห์เองก็ได้มีพัฒนาการด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของขนาดและการประดับตกแต่ง
3. ในช่วงอยุธยาตอนปลายฐานสิงห์ได้กลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเจดีย์รูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งองค์ประกอบและความละเอียดของลวดลายก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะสืบเนื่องไปจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย The purpose of this research is to study the stylistic of the lion base in Ayutthaya. The discussion covers its development between mid to end of Ayutthaya and primarily emphasizes on its architecture and sculpture.
The finding fact of this research is as followed.
1. There is no evidence of the Lion base during the early Ayutthaya but it was obviously appeared during the mid Ayutthaya especially at the base of royal chapel of Wat Phrasrisanphet. It is recognized that the stylistic of the lion base during mid Ayutthaya is similar to the Lion Base in Sukhothai era. Since Sukhothai had a good relationship with Ayutthaya at that period of time, it is reasonable to assume that the Lion Base in Ayutthaya was much influenced by the Lion Base in Sukhothai.
2. After the lion base became noticeable, it rapidly grew in population. The lion base was widely constructed as the base of stupa, bell, and Buddha image. Moreover, it had gradually developed its own style particularly size and details.
3. During the late Ayutthaya, the lion base had become a significant part of stupas. The details were much more elaborated and this stylistic was also remarked during early Rattanakosin.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
828