ความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อมิวสิควิดีโอเพลงสากลรูปแบบ Conceptual โดยผสมผสานกลิ่นอายวัฒนธรรมไทยสมัยราชกาลที่ 5
ชื่อเรื่องอื่น:
The contentment of the audience related to a conceptual music video carrying the spirit of Thai culture in the reign of King Rama V of Thailand
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
วันที่:
2013
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
จุลนิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาความพึงพอใจของผู้ชม โดยมุ่งเน้นที่ความพึงพอใจที่มีต่อมิวสิควิดีโอเพลงสากลรูปแบบ Conceptual โดยผสมผสานกลิ่นอายของวัฒนธรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดจนแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการผลิต พฤติกรรมการรับชมมิวสิควิดีโอของกลุ่มเป้าหมายสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ และการทดสอบสตอรี่บอร์ด (Storyboard Test) เพื่อนำสิ่งที่ได้ทำการศึกษาทั้งหมดนี้มาประยุกต์ใช้ในการผลิตชิ้นงาน ให้งานนั้นตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด และทำการออกแบบสำรวจ (Questionnaire) สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลังรับชมมิวสิควิดีโอแล้ว เพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจและประโยชน์ที่ผู้ชมได้รับ จากการศึกษาพบว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการความแปลกใหม่ เนื่องจากมิวสิควิดีโอทั่วไปก็จะมีสไตล์การเล่าเรื่องคล้ายๆกันตามเพลงแต่ละประเภท จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าและพบว่า ยังไม่มีมิวสิควิดีโอเพลงสากลที่ให้ภาพ เรื่องราว และกลิ่นอายแบบไทยในสมัยอดีต จึงเป็นที่มาของมิวสิควิดีโอเพลงสากลรูปแบบ Conceptual โดยผสมผสานกลิ่นอายวัฒนธรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเสนอเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในยุคนั้นภายใต้แนวคิดที่ว่า “ความเจ็บปวดจากการเปลี่ยนแปลง” เมื่อเรารับวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามาเพื่อให้ต่างชาติยอมรับและไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของใคร และแน่นอนว่าไทยเป็นอิสระ แต่คำถามที่ตามมาคือเราเป็นอิสระจริงหรือ การรับวัฒนธรรมเหล่านี้มาเป็นไปได้หรือไม่ว่าความจริงแล้วเราเองอาจกำลังตกเป็นทาสทางวัฒนธรรมตะวันตกอยู่ ซึ่งหลังการผลิตนั้นได้นำมิวสิควิดีโอให้กลุ่มเป้าหมายชาวไทยในเขตกรุงเทพและปริมณฑล (120 คน) และชาวต่างชาติ (30 คน) ที่มีอายุระหว่าง 19-22 ปีชมและทำแบบสอบถาม ประเมินความพึงพอใจ พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อมิวสิควิดีโอนี้ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับทัศนคติของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งยังเป็นการผสมผสานระหว่างเพลงสากลกับเรื่องราวแบบ ไทย พร้อมทั้งสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในมิวสิควิดีโอทำให้ผู้ชมได้คิดตามอยู่ตลอดเวลา อันเป็นประโยชน์นอกเหนือจากความบันเทิงที่ได้รับ มิวสิควิดีโอเพลงสากลรูปแบบ Conceptual โดยผสมผสานกลิ่นอายวัฒนธรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ผลิตขึ้นนั้น สอดคล้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำที่ว่า มิวสิควิดีโอประเภทนี้จะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่กลุ่มเป้าหมายและสามารถใช้เป็นต้นแบบในการผลิตมิวสิควิดีโอในอนาคตได้
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
นิเทศศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชา:
สาขานิเทศศาสตร์
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
274