โครงการสร้างสรรค์ประติมากรรมเพื่อสะท้อนพฤติกรรมสัตว์ป่าที่ถูกนำมาเลี้ยงในเมืองใหญ่
ชื่อเรื่องอื่น:
Project on creative sculptures to reflect on wildlife were brought in big cities
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2016
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
สังคมไทยนั้น มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยในปัจจุบันนั้น ธุรกิจสัตว์ป่านำมาเลี้ยงในเมือง มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เช่น บางห้างสรรพสินค้าหรือร้านอาหาร ลงทุนซื้อสัตว์ป่าหรือสัตว์แปลกๆ(Exotic pet) ไปโชว์ เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาชมมากขึ้น ขณะเดียวกัน เบื้องหลังมีการสอบถามราคาสัตว์เหล่านั้น เพื่อจะซื้อไปเลี้ยง ทางร้านมีการดำเนินกาหมาย แต่ด้วยต้นทุนที่สูง ทำให้พ่อค้าจำนวนมากยังคงใช้วิธีดักจับจากธรรมชาติอยู่เช่นเดิม และสถานการณ์การลักลอบค้าสัตว์ป่ามีความรุนแรงขึ้นอีกด้วย คนในปัจจุบันได้หลงลืมไปแล้วว่าแท้ที่จริงแล้วบ้านของพวกเขานั้นคือที่ป่าไม้ ทำให้สัตว์ป่าเหล่านั้นค่อยๆสูญพันธ์ไป และยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้สัตว์ป่านั้น ค่อยๆหายไปจนถึงแก่ความตาย คนที่เลี้ยงแบบไม่รับผิดชอบ เบื่อก็ปล่อยทิ้ง ผลที่ตามคือ กรณีที่ 1 ตาย เนื่องจากถูกเลี้ยงมาตั้งแต่เล็กๆ ทำให้ขาดสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดตามธรรมชาติ กรณีที่2 กลายเป็น Alien species ที่ไปรุกรานสัตว์หรือพืชพื้นถิ่น ทำให้สัตว์หรือพืชพื้นถิ่นลดจำนวนลง เป็นต้น
การสร้างสรรค์งานศิลปะ”สัตว์ป่าในเมืองใหญ่”จึงเกิดเป็นงานศิลปะประติมากรรมสะท้อนแง่มุมพฤติกรรมและความรู้สึกของการซื้อขายกันไปก็มี จะเห็นได้จากผู้คนหันมาเลี้ยงสัตว์ป่ากันมากขึ้น เพื่อเอาไว้เป็นเพื่อน ดูเล่น เฝ้าบ้าน ด้วยความน่ารักและน่าเอ็นดู และยังเป็นเทรนด์ เมื่อสื่อสังคมออนไลน์ มีการโชว์ภาพถ่ายของสัตว์ป่า การซื้อขายสัตว์ป่าผ่านโลกออนไลน์ ยิ่งกระตุ้นให้คนไทยหันมาเลี้ยงสัตว์ป่ามากขึ้นถึงแม้ว่าสัตว์บางชนิดถูกเพาะพันธุ์อย่างถูกกฎ
สัตว์ป่าที่ถูกนำมาเลี้ยงในเมืองใหญ่และเป็นการรณรงค์ให้หยุดการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเมืองหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสม หยุดการค้าสัตว์ป่า หยุดการลักลอบซื้อขายและเพื่อแก้ปัญหาสัตว์ป่าสูญพันธุ์ จึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์ประติมากรรมเพื่อสะท้อนสัตว์ป่าที่ถูกนำมาเลี้ยงในเมืองใหญ่ที่แสดงถึงความสร้างสรรค์ มีทั้งเทคนิคทางเซรามิกส์และเทคนิคต่างๆในการนำเสนอการสร้างสรรค์งานศิลปะ และเป็นลักษณะเป็นงานศิลปะการจัดวาง (Installation art )ประติมากรรม เพื่อสะท้อนค่านิยมคนในสังคมและให้ตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์ป่า
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
641