สกุลช่างพื้นบ้าน : สิมอีสานในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด
Other Title:
The local artistic : the Sim of Roi Et Province
Author:
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้ทำการศึกษาสกุลช่างพื้นบ้าน : สิมอีสานในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด โดยเน้นจุดมุ่งหมายการศึกษา คือ รูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของสิม พื้นถิ่นอีสานเฉพาะกลุ่มที่มีลักษณะร่วม คือ เป็นสิมขนาดเล็ก มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดและทางเข้าด้านหน้าด้านเดียว ก่อฐานสูง ตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วยเครื่องไม้ เช่น หน้าบัน รวงผึ้ง ชั้นหลังคา คันทวย เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงอิทธิพลที่มาของรูปแบบ พัฒนาการที่เป็นเอกลักษณ์ และสายวิวัฒนาการที่ส่งผ่าน รูปแบบของงานวิจัยฉบับนี้จัดทำการวิเคราะห์เอกสาร เปรียบเทียบหลักฐานทางรูปแบบสถาปัตยกรรมในกลุ่มสิมพื้นถิ่นอีสานเป็นหลัก โดยเชื่อมโยงกับสิมของศิลปะล้านช้างในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วจึงนำเสนอรูปแบบด้วยความคิดเห็นเชิงบรรยาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ
ผลการศึกษาทราบได้ว่าสิมพื้นถิ่นอีสานในจังหวัดร้อยเอ็ดประเภทดังกล่าว เมื่อพิจารณาจากรูปทรงโดยรวมสามารถจำแนกประเภทหลัก ได้ 3 กลุ่มหลัก โดยแต่ละกลุ่มมีลักษณะเฉพาะทางองค์ประกอบสถาปัตยกรรม เช่น แผนผังอาคาร ฐาน โครงสร้างหลังคา และเครื่องประกอบตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น คันทวย รวงผึ้ง หน้าบัน โดยรวมมีรูปแบบเริ่มต้นสัมพันธ์สอดคล้องอย่างใกล้ชิดกับสิมในศิลปะล้านช้างสกุลช่างเวียงจันท์ จากหลักฐานสิมกลุ่มที่ 1 และ 2 น่าจะอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันไม่ควรเก่าเกินกว่ารัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 – 2394) และได้คลี่คลายสู่ความเป็นท้องถิ่นในที่สุดในช่วงระยะเวลาหลังจากนั้นดังรูปแบบสิมในกลุ่มที่ 3
และผลการวิเคราะห์รูปแบบศิลปกรรมที่ผ่านมายังสอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางดินแดนและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงช่วงเวลาราวกลางพุทธศตวรรษที่ 23 มีการอพยพของกลุ่มของจากนครเวียงจันท์ มาตั้งบ้านแปงเมืองในดินแดนภาคอีสานและก่อตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย The thesis “The Local Artistic : The Sim of Roi Et Province” stressed the objectives on the studies of the architecture styles and elements of local Sim in Roi Et Province. The research focuses on one group of Sim which are similar in design i.e. built in small oblong plan, having only one stairway and entrance at the front, high base constructed and decorated with wood. This study is to find the original of style influenced, unique developments, and way of evolutions of these Sim. The main research methodologies are analysis of printed documents and text in combination with comparison of local Sim in North East of Thailand to Sim in Laotian Art in Lao People’s Democratic Republic.
The study shows that the local Sim in Roi Et Province can be categorized into 3 main groups identified by their architectural styles and elements such as plot plan, base, roof structure, and decoration. However, it was found that original styles of these 3 groups closely relate to Vientiane school of Laotian Sim. The research also shows that Sim in group 1 and 2 may have been built just about in the same age and may not older than the King Rama III period (A.D.1824 – 1851). The styles of Sim in group 1 and 2 have been gradually developed to local styles which can identified as Sim in group 3.
Moreover, the result of the research also relates to the land boundary and history in middle of 18 B.C. that group of people emigrated from Vientiane to North East of Thailand and established Roi Et province.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
294