ประติมากรรมเซรามิกใต้น้ำเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ระบบนิเวศแนวปะการัง จังหวัดกระบี่
Other Title:
Ceramic sculpture underwater to promote the conservation of coral reef ecosystem Krabi
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการลดลงของทรัพยากรณ์ธรรมชาติทางทะเลอย่างน่าเป็นห่วง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา สาเหตุการเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในแนวปะการัง ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ รวมถึงการศึกษาการแก้ไขปัญหาที่เคยขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อทราบถึงข้อดีและข้อเสียในการหาแนวทางที่เหมาะสมในการออกแบบ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อระบบนิเวศในแนวปะการัง และผลจากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัยและผู้ที่สนใจต่อไป
การศึกษาในครั้งนี้จะใช้พื้นที่ทะเลฝั่งอันดามัน จังหวัดกระบี่ เป็นกรณีตัวอย่างในโครงการ รวมถึงศึกษาการแก้ไขปัญหาปะการังเสื่อมโทรมที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยทั้งหมด โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลฝั่งอันดามัน, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดผลมากที่สุดคือการทำปะการังเทียม อันได้แก่ 1. ปะการังเทียมเพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะให้แก่สิ่งมีชีวิตเกาะติด และเพื่อการฟื้นฟูแนวปะการัง 2. ปะการังเทียมเพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัยของปลา 3. ปะการังเทียมเพื่อใช้ในการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขปัญหาโดยการปลูกปะการังทดแทนซึ่งเหมาะสมต่อการฟื้นฟู
จากการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบ และการปลูกปะการังทดแทน พบว่าการใช้เซรามิก เป็นวัสดุทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถใช้ในการทำปะการังเทียมทั้ง 3 รูปแบบและปลูกปะการังได้ อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงนำข้อได้เปรียบของวัสดุเซรามิก มาใช้ในการออกแบบ โดยนำจุดเด่นของการแก้ไขปัญหาแต่ละแบบมาปรับใช้ เพื่อสร้างพื้นที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์น้ำขนาดเล็ก และสามารถปลูกปะการังทดแทนได้ในขณะเดียวกัน โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 1 ปี และได้นำทฤษฎีของ ซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmund Freud, 1856-1939) มาปรับใช้ ซึ่งจะเป็นการรณรงค์และสร้างความเข้าใจรวมถึงการปลูกจิตสำนึกที่ดีของชาวบ้าน, นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง โดยข้าพเจ้าขอกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ คือ ชีวิต ทะเล และ มนุษย์
Type:
Degree Name:
ศิลปมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
1212