ประติมานวิทยาของพระพุทธรูปลีลาในศิลปะสุโขทัย
Other Title:
The iconography of the walking Buddha posture in Sukhothai art
Author:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาหาความสัมพันธ์ของที่มา คติความเชื่อ แรงบันดาลใจ ที่แสดงออกในรูปแบบของศิลปกรรม โดยเฉพาะพระพุทธรูปลีลาในศิลปะสุโขทัย โดยอาศัยการตีความด้านประติมานวิทยาร่วมกับหลักฐานทางโบราณคดีอื่น ๆ
ผลของการศึกษาทำให้ได้ทราบว่าแนวคิดและที่มาของคติความเชื่ออันเนื่องมาจากพุทธศาสนิกายเถรวาทของชาวสุโขทัยในการสร้างพระพุทธรูปลีลา นักวิชาการหลายท่านได้ตีความหมายและแสดงความคิดเห็นไว้หลากหลายแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามการตีความด้านประติมานวิทยาประกอบกับหลักฐานทางจารึก อันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธประวัติที่พบในสมัยสุโขทัย ทำให้ข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพุทธประวัติตอนเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มากกว่าพุทธประวัติตอนอื่น ๆ
อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันว่าพระพุทธรูปลีลาของสกุลช่างสุโขทัยนั้นมีความงดงามและมีลักษณะเป็นของตนเองมากที่สุด The objective of this article is to study the relative of sources, believes and influences that show in the Buddish’s art forms espectialy the walking Buddha posture in Sukhothai’s art. By the study of Buddhist iconography with supporting others archeological evidences.
The result of this study showed their sources of ideas that influences on Sukhothai’s artists to create the walking posture, because of their believes in Theravada Buddhism. Many scholars have many reasons to support their different opinions. Moreover, by the study of Buddhist iconography and the stone inscriptions that found in the Sukhothai period that related to events in the Lord Buddha’s life, made the hypothesis in the walking posture possibly depict the event in which the Buddha desceccded from Taratinsa Heaven rather than others events in the Buddha’s Life.
By the way, the Walking Buddha image from the Sukhothai school was accepted in highly successful on aesthetics and uniquely characteristics.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
330