ที่มาของพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย
Other Title:
The origin of crowned Buddha images of the Khmer art found in Thailand
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาถึงที่มาของพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 พบว่า ทางด้านรูปแบบศิลปกรรมนั้น ได้รับแหล่งบันดาลใจมาจาก 2 สายอิทธิพล กล่าวคือ สายแรกเป็นแหล่งบันดาลใจจากศิลปะขอมแบบนครวัดและศิลปะขอมบายน ในช่วงพุทธศตวรรษเดียวกัน ส่วนอีกสายหนึ่งเป็นแหล่งบันดาลใจจากศิลปะหริภุญชัย-พุกาม ซึ่งมีการปูพื้นฐานมาจากศิลปะอินเดียแบบปาละ และส่งผ่านมาให้ศิลปะพุกาม อย่างไรก็ตาม รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศไทยบางส่วน ก็สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างศิลปะขอมและศิลปะหริภุญชัย-พุกาม รวมถึงการสอดแทรกรูปแบบความเป็นพื้นเมือง จนทำให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานทางด้านเอกสารที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรขอมกับดินแดนภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะความสัมพันธ์เชิงเครือในราชวงศ์มหิธรปุระ ซึ่งเชื่อว่าราชวงศ์มีศูนย์กลางอยู่บริเวณเมืองพิมาย-พนมรุ้ง ขณะที่อีกทางหนึ่งก็มีหลักฐานด้านเอกสารซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างแคว้นหริภุญชัยและภาคกลางของประเทศไทย ทั้งลักษณะความสัมพันธ์เชิงเครือญาติและความสัมพันธ์ทางการเมือง หลักฐานทางด้านเอกสารเหล่านี้ช่วยสนับสนุนและสอดรับกับการศึกษาถึงที่มาทางด้านศิลปกรรมของพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย ทั้งจากศิลปะขอม และศิลปะหริภุญชัย-พุกาม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ได้เป็นอย่างดี
ด้านคติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศไทยนั้น ยังคงมีความคลุมเครือและยากที่จะแยกแยะชี้ชัดไปได้ว่า ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่ององค์ใดมีคติการสร้างขึ้นอย่างไร เนื่องมาจากข้อจำกัดสำคัญที่ว่า การพิจารณาถึงคติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศไทยหรือศิลปะอื่น ๆ นั้น จำเป็นต้องพิจารณาประติมากรรมเฉพาะแต่ละองค์และอาศัยบริบทประกอบหลายประการ เพื่อนำมาร่วมพิจารณาถึงคติการสร้างประติมากรรม
ในที่นี้ การศึกษาถึงที่มาด้านคติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย ก็พยายามตรวจสอบถึงความเป็นไปได้ของคติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย โดยส่วนหนึ่งพบว่าได้รับคติการสร้างมาจากพระพุทธรูปทรงเครื่องซึ่งหมายถึงพระไภษัชยคุรุ และคติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในประติมากรรมหมู่สามองค์ อันประกอบด้วย พระพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตา อันหมายถึงคติรัตนตรัยมหายาน The purpose of this research is to study the origin of 12th – 13th Crowned Buddha Images of the Khmer art found in Thailand. As for the art style, they are likely to have been inspired by the Khmer art (Angor Vat-Bayon) and the Haripunjaya-Pagan arts which was influenced by the Pala art.
However, the artistic styles of some crowned Buddha image of the Khmer art in Thailand portray the combination of the Khmer art, the Haripunjaya-Pagan art and local styles.
Besides some literary evidences shows the kinship relation between the Khmer Empire and the center of Northeadtern Thailand, especially in the Mahidharapura Dynasty whose center is believed to have been in Pimai-Phnomrung Area. Furthermore, some accounts show the kinship and political relation between the Haripunjaya Region and the Central part of Thailand. The documentary evidence support the result of studying the origin of crowned Buddha images of the Khmer art found in Thailand as well.
At the present, there is not available evidence to find the exact inconographical meaning of these crowned Buddha images. The researches presumed that they are likely to have been related to some iconographical meanings in the Khmer art such as Bhaisajayaguru and Triad (Buddha, Avalokitesavara and Prajnaparamita).
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
1392