กลุ่มวัดป่าเชิงดอยสุเทพ : งานศิลปกรรมและบทบาททางสังคมของเมืองเชียงใหม่ในสมัยราชวงศ์มังราย
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2015
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษารูปแบบงานศิลปกรรมของกลุ่มวัดป่าเชิงดอยสุเทพ เมืองเชียงใหม่ เพื่อตรวจสอบอายุสมัยและลักษณะการใช้งานพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ อีกทั้งสะท้อนบทบาททางด้านศาสนา ต่อการเมืองในสมัยราชวงศ์มังราย โดยศึกษาผ่านการสารวจหลักฐานงานศิลปกรรมภายในพื้นที่กลุ่มวัดป่าเชิงดอยสุเทพ ได้แก่ วัดอุโมงค์ วัดป่าแดงหลวง วัดพระธาตุแสงจันทร์ วัดฤๅษีชีวกะ วัดพระนอน กู่ผีบ้า โบราณสถานร้างด้านหน้าวัดอุโมงค์ วัดฝายหิน และวัดตโปทาราม (ร่าเปิง) นามาวิเคราะห์ร่วมกันกับหลักฐานโบราณคดี และหลักฐานเอกสารประเภทต่างๆ เพื่อกาหนดอายุสมัยและแปลความหน้าที่การใช้งานหรือคติแฝงที่เกิดจากการสร้างงานศิลปกรรม
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มวัดป่าเชิงดอยสุเทพมีอายุการใช้งานตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ในฐานะของกลุ่มวัดฝ่ายอรัญวาสีของพุทธศาสนาในล้านนา ซึ่งเชื่อมโยงวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์กับ สภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ป่า จนกลายเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา นิกายป่าแดงในช่วง พุทธศตวรรษที่ 21 และมีบทบาทเป็นฐานอานาจทางการเมืองในสมัยพระเจ้าติโลกราช อีกทั้งยังมีหน้าที่เป็นศาสนสถานดูแลพื้นที่ต้นน้า และจัดการทรัพยากรบริเวณพื้นที่ภูเขาทางด้านทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ โดยผนวกความเชื่อเรื่องภูเขา ผีบรรพบุรุษ และพุทธศาสนา เพื่อควบคุมผู้คน ให้ช่วยกันดูแลรักษาและป้องกันการทาลายทรัพยากร การใช้งานพื้นที่เชิงดอยสุเทพมีนัยสาคัญ ทางการเมืองบางประการต่อชาวลัวะ กลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ เพื่อต้องการผนวกให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ผ่านการผสมผสานความเชื่อพื้นเมืองและพุทธศาสนา กิจกรรมการใช้งานพื้นที่เชิงดอยสุเทพน่าจะถูกทิ้งร้างลงไปในช่วงที่พม่าเข้ามาปกครองเมืองเชียงใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 22
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
982
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
วิถีชีวิตลูกหาบ : ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
Collection: วิทยานิพนธ์Type: Thesisวนิดา พิพัฒน์ภาพร; Wanida Pipatnapaporn (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2010) -
พัฒนาการเวียงกุมกามจากหลักฐานทางโบราณคดี
Collection: Theses (Ph.D) - Historical Archaeology / ดุษฎีนิพนธ์ – โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์Type: Thesisเมธี เมธาสิทธิ สุขสำเร็จ; Meetee Medhasith Suksumret (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของเวียงกุมกามใน 3 ประเด็นคือ คติความเชื่อทางศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณ และบทบาทหน้าที่ของเวียงกุมกาม โดยทำการศึกษา เปรียบเทียบวิเคราะห์ ตีความ หลักฐานทางโบรา ... -
คติการสร้างเมืองเชียงใหม่ในวัฒนธรรมล้านนา
Collection: Theses (Master's degree) - History of Architecture / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมType: Thesisทศพร โสดาบรรลุ; Thosaporn Sodabunlu (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2003)การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงคติสัญลักษณ์ กระบวนการออกแบบ และความสัมฤทธิ์ ผลของการออกแบบเมืองเชียงใหม่ตามขอบเขตพื้นที่เวียง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ล้อมด้วยคูน้ำ และพื้นที่ล้อมรอบรูปวงโค้งภายใต้วัฒนธรรมล้านนา ...