เจดีย์แบบพม่าสมัยรัชกาลที่ 5 ในเมืองลำปาง
Other Title:
Burmese chedis in Lampang during the reign of King Rama V
Author:
Subject:
Date:
2007
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเจดีย์แบบพม่าสมัยรัชกาลที่ 5 ในเมืองลำปาง เปรียบเทียบกับเจดีย์ในพม่าโดยเน้นรูปแบบและลวดลาย ซึ่งแม้จะมีผู้ศึกษาถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับดินแดนล้านนามาบ้างแล้ว แต่ในส่วนของงานศิลปกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจดีย์นั้นยังพบไม่มากนัก ซึ่งจากผลการศึกษาได้ข้อสรุปดังนี้
1. รูปแบบของเจดีย์แบบพม่าสมัยรัชกาลที่ 5 ในเมืองลำปางนั้นแม้จะได้รับมาจากพม่า แต่ก็มีลักษณะบางประการที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นลักษณะของพื้นเมืองที่เข้ามาปะปนหรือเป็นสิ่งที่คิดขึ้นใหม่ และกลายมาเป็นความนิยมเฉพาะของท้องถิ่น ลักษณะเช่นนี้เห็นได้ชัดในเจดีย์เมืองเชียงใหม่ที่นำมาศึกษาเพิ่มเติม ในส่วนของลวดลายก็เช่นเดียวกัน ทั้งรูปแบบและตำแหน่งที่ประดับนั้นได้รับมาพร้อมกับรูปแบบของเจดีย์ แต่ขณะเดียวกันลักษณะที่ต่างจากต้นแบบซึ่งอาจเรียกว่าเป็นความนิยมของแต่ละท้องถิ่นก็มีอยู่บ้าง ทั้งในเจดีย์เมืองลำปางและเชียงใหม่
ความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์เมืองลำปางและเชียงใหม่ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าช่างที่สร้างงานไม่ควรเป็นกลุ่มเดียวกัน อย่างไรก็ดีลักษณะที่ต่างออกไปนั้นบางอย่างก็ไม่ได้พบเพียงเมืองใดเมืองหนึ่ง แต่เป็นลักษณะที่พบร่วมกันด้วย
2. ช่างที่เป็นผู้สร้างสรรค์งานศิลปกรรมแบบพม่าในเมืองลำปางนั้น แม้ว่าจะได้เคยมีผู้ทำการศึกษาและสันนิษฐานเอาไว้ว่ามาจากเมืองมัณฑะเลย์ก็ตาม แต่ในการศึกษาครั้งนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปลงไปได้แน่ชัด เนื่องจากยังขาดหลักฐานอีกมาก อย่างไรก็ดีเจดีย์แบบพม่าในเมืองลำปางรวมไปถึงเชียงใหม่นั้น ก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับเจดีย์ทางเมืองมัณฑะเลย์และย่างกุ้งมากกว่าเจดีย์เมืองพุกาม The purpose of this research is to study the style and decoration of Burmese Chedi in Lampang province during the reign of King Rama V, comparing with Chedis in Myanmar. Although there are some studies regarding Lanna, as for the Lanna art, especially Lanna-styled chedis, is hardly ever mentioned.
The results of this research are as follows :
1. Even though the style of Burmese Chedis in Lampang during the King Rama V period is derived from Burmese Chedis in Myanmar, there are some changed characteristics which could be local style or a new idea becoming popular in Lampang and Chiang Mai. These characteristics are obviously seen in Burmese Chedis in Chiang Mai which are additionally studied.
As for the motifs, the style and position of decoration are influenced by Burmese Chedis in Myanmar simultaneously with the style of Chedis, but at the same time Burmese Chedis both in Lampang and Chiang Mai have their own popular local characteristics which are different from the original style in Myanmar.
Due to the different unique style and motifs between Burmese Chedis in Lampang and Chiang Mai, the artisans who built the Chedies in both towns should not belong to the same group. However, some of these characteristics are found not only in Lampang but also in Chiang Mai.
2. In spite of the fact that some researchers studied and assumed that the artisans, who created the Burmese styled works of art in Lampang, came from Mandalay, we can not definitely conclude for lack of evidence. Burmese Chedis in Lampang and Chiang Mai are, however, more similar to Chedis in Mandalay and Rangoon than those in Bagan.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
245