คติความเชื่อ รูปแบบและการจัดวางประติมากรรมศาลเจ้า : ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Author:
Subject:
Date:
2015
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษา “คติความเชื่อ รูปแบบและการจัดวางประติมากรรมศาลเจ้า : ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ตาบลอ่างศิลา อาเภอเมือง จังหวัดชลบุรี” นั้นมุ่งเน้นการศึกษารูปแบบและจัดวางประติมากรรมภายในศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ทั้งตัวองค์ประธานหลักของศาลอย่างเทพเจ้าหน่าจาถึงความเป็นมา และความเชื่อที่มีต่อ เทพหน่าจาทั้งในประเทศจีน รวมถึงในประเทศไทยเองเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ ความเหมือนหรือแตกต่างในการจัดวางประติมากรรมทั้งหมดที่สาคัญภายในศาลเจ้าแห่งนี้ และศาลเจ้าหน่าจาแห่งอื่นในประเทศไทย
ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่าเทพหน่าจาเป็นเทพที่มีการนับถือในประเทศจีนมาเป็นเวลานาน ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในช่วงปลายสมัยราชวงศ์หมิง ต่อมาความเชื่อเรื่องเทพหน่าจาได้เข้ามายังประเทศไทย โดยในช่วงต้นได้ผสมผสานกับเทพโกมินทร์กุมารและเกิดเป็นศาลเจ้าโกมินทร์ในช่วงก่อน พ.ศ. 2534 ภายหลังจากความนิยมในเทพนาจาได้ฟื้นกลับมาเป็นที่นิยมในประเทศจีนเอง ประเทศไทยเองก็เช่นกัน จึงเกิดความนิยมสร้างศาลเจ้านาจาในตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ศาลเจ้านาจาซาไท้จื้อแห่งนี้เมื่อแรกสร้างในปี พ.ศ. 2534 ก่อนมีการสร้างขึ้นใหม่เป็นจานวน 4 ชั้น ตามรูปแบบปัจจุบันในปี 2542 โดยมีแนวความคิดในการจัดวางที่มีความเชื่อโยงสัมพันธ์กับทั้งประเทศจีนเอง และมีรูปแบบแนวความคิดที่ผสมผสานแตกต่างออกไป ซึ่งมีทั้งความเหมือนและแตกต่างจากศาลเจ้าหน่าจาในประเทศไทยที่สร้างภายในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั่นเอง ซึ่งปัจจัยในการกาหนดแนวความคิดและรูปแบบในแต่ละศาลซึ่งแตกต่างกัน อาจเกิดจากลักษณะของท้องถิ่นแต่ละที่ตั้ง และความเชื่อของคนในแต่ละพื้นที่ที่ศาลตั้งอยู่ รวมทั้งบริบททางสังคม และเวลาอีกด้วย
ภาค
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
1679