สตรีทอินสตอลเลชันของแบงค์ซี และมาร์ค เจนกินส์
Other Title:
Street installation of Banksy and Mark Jenkins
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2017
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ศิลปนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ผลงานสตรีทอินสตอลเลชันของแบงค์ซี และมาร์ค เจนกินส์ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2004 - ปี ค.ศ. 2017 จำนวน 30 ชิ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด เนื้อหารวมถึงรูปแบบและเทคนิคในการนำเสนอผลงานที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะ โดยผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรูปภาพ โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงกับทฤษฎีจำแนกรูปแบบอินสตอลเลชันของมาร์ค โรเซนท์ฮอล และอภิปรายผลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลงานสตรีทอินสตอลเลชันด้วยวัสดุเก็บตกและวัสดุสำเร็จรูปของแบงค์ซี และมาร์ค เจนกินส์ มีลักษณะการสร้างสรรค์ผลงานที่คำนึงถึงเทคนิค วิธีการนำเสนอให้มีความสัมพันธ์กับแนวคิด และสถานที่ติดตั้งผลงาน ศิลปินทั้งสองยังคำนึงถึงการติดตั้งผลงานให้มีความสอดคล้องกับหลักการของอินสตอลเลชันอาร์ต ภายใต้แนวคิดและเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สังคมในเชิงล้อเลียน หรือประชดประชัน
นอกจากนี้การจำแนกรูปแบบสตรีทอินสตอลเลชันของศิลปินทั้งสองด้วยทฤษฎีจำแนกรูปแบบอินสตอลเลชันอาร์ต สามารถส่งเสริมให้สตรีทอินสตอลเลชันมีหลักการของรูปแบบการนำเสนอที่ชัดเจนมากขึ้น และเสริมสร้างความเข้าใจในสตรีทอินสตอลเลชันให้กับผู้ที่มีความสนใจหรือนำไปพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์ผลงานแนวทางสตรีทอาร์ตในประเทศไทยต่อไป The purpose of this thesis is to analyze 30 pieces of street installation arts of Banksy and Mark Jenkins from 2004 to 2007 in order to study the idea, content, style and also technique used in creating these unique pieces of art. The research was done through qualitative research by compiling data from documents and images, and analyzing along with Mark Rosenthal’s installation art categorization theory. The result of this research was discussed in a descriptive form.
Banksy’s and Mark Jenkins’ works consisting of using found objects and readymade objects were made by matching up presentation techniques with the installation space. Both artists also consider about the principle of installation art and install their works accordingly under the main idea of social criticism in satire or sarcastic way.
Furthermore, by categorizing their works using installation art categorization theory, it has become clearer how street installation art should be presented. In addition, it strengthens understanding on street installation art and inspires those interested in Thailand to create their own artworks.
Type:
Degree Name:
ศิลปบัณฑิต
Discipline:
ทัศนศิลป์ (ทฤษฎีศิลป์)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
391