การออกแบบพื้นที่ว่างเพื่อการรับรู้นามธรรมจากการตีความโกฏิจักวาล
ชื่อเรื่องอื่น:
Space design for abstraction perceptual in Kotichakavala
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2016
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การศึกษาและออกแบบโครงการนี้จึงเกิดขึ้นจากการที่ผู้วิจัยสนใจการศึกษาจักรวาลในประเทศไทย และเล็งเห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณที่ผูกพันธ์กับท้องฟ้าและดวงดาวมายาวนานไม่ต่างจากชนชาติอื่น แต่ในประเทศไทยยังขาดพื้นที่สำหรับนำเสนอจักรวาลวิทยาในมิติทางประวัติศาสตร์ของไทยเอง โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ ศึกษาทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจักรวาลวิทยา ทั้งแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และมิติทางพุทธศาสนาและสังคมของไทย เพื่อเข้าใจและสามารถสรุปสาระสำคัญของเนื้อหาไปสู่การออกแบบประกอบกับการศึกษาทฤษฎีการออกแบบพื้นที่ ทั้งเชิงกายภาพและในเชิงการรับรู้ ไปจนถึงการศึกษากรณีศึกษา เพื่อนำแก่นสาระและใจความของการศึกษาทฤษฎีจักรวาลวิทยามาใช้ร่วมกับทฤษฎีทางการออกแบบที่ผ่านการศึกษามาแล้วสู่การออกแบบให้เกิดผลลัพธ์ของการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งในเชิงศิลปะและการออกแบบ
การศึกษาวิจัยโครงการ “การออกแบบพื้นที่ว่างเพื่อการรับรู้นามธรรมจากการตีความ โกฏิจักรวาล” เป็นวิจัยเชิงผสมผสาน ที่ได้ใช้กลวิธีของวิจัยหลายประเภทร่วมเก็บข้อมูล โดยมีประชากรเป้าหมายเป็นนักเรียนนักศึกษาในบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านจักรวาลวิทยา และการเก็บแบบประเมินจากกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับเครื่องมือทางทฤษฎีศิลปะและการออกแบบเพื่อวิเคราะห์และแปรข้อมูลสู่การออกแบบ เช่น องค์ประกอบทางศิลปะ หรือองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมพื้นฐาน
ผู้วิจัยได้ข้อค้นพบว่าแนวคิดทางพุทธศาสนานั้นมีบางส่วนที่สามารถนำมาอธิบายกลไกความคิดในทางวิทยาศาสตร์ได้อยู่หลายข้อที่สามารถแปรสู่กระบวนการออกแบบ ร่วมกับการศึกษาปัจจัยของศิลปะกับพื้นที่ในทางของภูมิศิลป์ (Land Art) และศิลปะการจัดวาง (Installation Art) ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบบางอย่างของงานออกแบบเพื่อผลลัพธ์ของการรับรู้ที่แตกต่าง เช่น การใช้ขนาดที่ผิดปกติ การทลายขอบเขตอันแน่นอน การกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ เป็นต้น แม้ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจจะยังไม่ตอบรับกับกลุ่มเป้าหมายมากจากการประเมินผล เนื่องจากการรับรู้ผ่านบริบททางศิลปะนั้นแตกต่างจากการเรียนรู้แบบอื่นเพราะขึ้นกับประสบการณ์แต่ละคนที่แตกต่าง ซึ่งแนวทางการปรับปรุงนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงตัวแปรบางส่วนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นตามกลุ่มเป้าหมาย และเน้นไปถึงความน่าเรียนรู้ เป็นมิตรต่อผู้ใช้มากขึ้น
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
628