พุทธจิตรกรรมสมัย รัชกาลที่ 4-5 ในกลุ่มวัดลุ่มแม่น้ำป่าสัก เมืองสระบุรี
Other Title:
Buddhist Murals during the reigns of King Rama IV-V in the temples og Pa Sak Basin of Saraburi
Author:
Advisor:
Subject:
จิตรกรรมพุทธศาสนา -- ไทย -- สระบุรี
จิตรกรรมพุทธศาสนา -- ไทย -- ลุ่มแม่น้ำป่าสัก
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- สระบุรี
วัด -- ไทย -- สระบุรี
สระบุรี -- ประวัติศาสตร์
วัดจันทบุรี (สระบุรี)
วัดสมุหประดิษฐาราม (สระบุรี)
วัดหนองยาวสูง (สระบุรี)
วัดหนองโนเหนือ (สระบุรี)
วัดบ้านกอก (สระบุรี)
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- วิทยานิพนธ์
จิตรกรรมพุทธศาสนา -- ไทย -- ลุ่มแม่น้ำป่าสัก
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- สระบุรี
วัด -- ไทย -- สระบุรี
สระบุรี -- ประวัติศาสตร์
วัดจันทบุรี (สระบุรี)
วัดสมุหประดิษฐาราม (สระบุรี)
วัดหนองยาวสูง (สระบุรี)
วัดหนองโนเหนือ (สระบุรี)
วัดบ้านกอก (สระบุรี)
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- วิทยานิพนธ์
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์จะศึกษาเกี่ยวกับงานจิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัชกาลที่ 4-5 ในกลุ่มวัดลุ่มแม่น้ำป่าสัก เมืองสระบุรี ซึ่งมีแนวคิดและรูปแบบได้รับอิทธิพลมาจากงานจิตรกรรมศิลปะรัตนโกสินทร์มาจากราชธานีกรุงเทพฯ โดยสามารถวิเคราะห์แบ่งกลุ่มได้ 3 กลุ่มรูปแบบ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มวัดที่เขียนงานจิตรกรรมไทยประเพณีที่ยังเขียนสืบทอดมาจากสมัยรัชกาลที่ 3 คือวัดจันทบุรี กับ วัดบ้านกอก กลุ่มที่ 2 กลุ่มวัดที่เขียนงานจิตรกรรมไทยประเพณีผสมกับอิทธิพลศิลปะตะวันตก คือ วัดสมุหประดิษฐาราม และกลุ่มที่ 3 กลุ่มวัดที่เขียนงานจิตรกรรมไทยประเพณีในท้องถิ่น คือ วัดหนองยาวสูง กับ วัดหนองโนเหนือ
นอกจากนี้ได้ผลสรุปเกี่ยวกับกลุ่มช่างผู้สร้าง ได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ปรากฏอิทธิพลทั้งแนวคิดและรูปแบบช่วงรัชกาลที่ 3-4 สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่างรุ่นเก่าออกมาสร้างงานตามวัดหัวเมืองนอกพระนคร กลุ่มที่ 2 หลักฐานงานศิลปกรรมและงานจิตรกรรมมีรูปแบบได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตก มีการบูรณะปฏิสังขรณ์โดยพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าสุภัทรายุวดี สมัยรัชกาลที่ 5 และกลุ่มที่ 3 หลักฐานงานศิลปกรรมและงานจิตรกรรมพบว่าแนวคิดและรูปแบบได้รับอิทธิพลมาจากงานช่างจากราชธานี ซึ่งกลุ่มช่างน่าจะไปเรียนมาหรือเห็นมาจากวัดหลวงจากราชธานีกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม ปรากฏลักษณะเฉพาะท้องถิ่น ได้แก่ แนวคิดและรูปแบบศิลปะลาวเด่นชัด เช่น การเขียนจิตรกรรมผนังด้านนอกอาคาร การเลือกเขียนเรื่อง ซึ่งเป็นความนิยมในงานจิตรกรรมของกลุ่มคนลาว ดังนั้นน่าจะสร้างโดยกลุ่มคนลาวในท้องถิ่นตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 1-3 ที่มี การอพยพกลุ่มคนลาวเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองสระบุรี
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
844
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นเมืองโบราณขีดขิน ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
Collection: Article - Archaeology / บทความทางวิชาการ – โบราณคดีType: Articleจิรัสสา คชาชีวะ; ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์; ชวลิต ขาวเขียว; กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์; สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง; ผุศดี รอดเจริญ; บัณฑิต สมประสงค์; ดำรงพันธุ์ อินแสงฟ้า (คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2008-01)มื่อต้นปี 2550ภาควิชาโบราณคดี ได้เข้าดำเนินการและขุดค้นเมืองโบราณขีดขิน ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรีโดยได้รับทุนวิจัยศึกษาและพฒนาองค์กรจากการบริหารส่วนตำบลบ้านหมอ ผลจากการขุดตรวจตัวเมืองและขุดค้นชั้นดินภายในตั ... -
Life History เรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิต : ครูอนุรักษ์ร่วมสมัยกับบทบาทที่มีต่อการธำรงอัตลักษณ์ของชาวไทยวน เสาไห้ สระบุรี
Collection: Theses (Master's degree) - Painting / วิทยานิพนธ์ - จิตรกรรมType: Thesisสิริยา จันทร์ต้น (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009) -
แนวทางการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการครูโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
Collection: Theses (Master's degree) - Educational Administration / วิทยานิพนธ์ - การบริหารการศึกษาType: Thesisสมบัติ บ่อสมบัติ; Sombat Bosombat (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2003)