ผิวทางสถาปัตยกรรม

Other Title:
Architectural skin
Author:
Advisor:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ในการออกแบบสถาปัตยกรรมทุกกระบวนการย่อมมีแนวความคิดเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน ทั้งรูปทรง พื้นที่ และการใช้งาน การศึกษานี้จึงได้มุ่งเน้นความสำคัญเพื่อศึกษาหน้าที่และการสื่อสารทางสถาปัตยกรรมผ่านสิ่งที่เห็นเป็นกายภาพ ในที่นี้จะกล่าวถึง ผิว พื้นผิว หรือสิ่งห่อหุ้มภายนอก มีรูปแบบการสื่อสารใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะทางกายภาพ และลักษณะทางนามธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสและการรับรู้ กำหนดเป็นโปรแกรมในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับบริบทที่ตั้ง เพื่อให้เกิดการก่อรูปที่ตรงตามการใช้งาน มีเอกลักษณ์ชัดเจน และทำหน้าที่ได้มากกว่าเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งทางสถาปัตยกรรม
แนวทางการศึกษาได้นำเอาเนื้อหาเรื่องการรับรู้ที่ว่างจากการปิดล้อม มาเป็นเครื่องมือเริ่มต้นในการทดลองออกแบบ โดยอาศัยพื้นผิวและรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป ด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับพื้นที่และการใช้งานนั้นๆ ให้เห็นการก่อรูปและรับรู้ความหมาย แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่เข้ามาเป็นตัวแปรในการกำหนดรูปแบบที่เปลี่ยนไป คือ คน การเคลื่อนที่ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภายใต้การปิดล้อมของผิว-พื้นผิว เกิดการก่อรูปที่ต้องยืดหยุ่นไปตามความต้องการรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจึงเปลี่ยนไป สิ่งห่อหุ้มนั้นได้แสดงออกตามความหมายที่ต้องการสื่อสารให้เห็นผ่านทางกายภาพ การทดลองออกแบบกับตึกแถว ที่เป็นสถาปัตยกรรมตั้งต้นได้ศึกษากระบวนการเปรียบเทียบการออกแบบในรูปแบบที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ คือการสร้างความสัมพันธ์ของผิวภายนอกกับพื้นที่การใช้งานภายในของตึกแถว ทั้งรูปแบบตึกแถวทางตั้งและตึกแถวทางนอน
ผลการศึกษาที่ได้รับ จากการออกแบบเชิงทดลองที่ต้องการสื่อสารจากภายนอกเข้าไปสู่ภายใน ผิวภายนอกที่ห่อหุ้มสถาปัตยกรรมยังคงเป็นองค์ประกอบที่สามารถสัมผัสได้จากการมองเห็น ซึ่งผิวที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมและการใช้พื้นที่นั้นๆ จะสื่อสารออกมาในรูปแบบ รูปทรง หรือหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป โดยไม่ได้มาจากการตกแต่ง แต่เป็นสิ่งที่เป็นแนวคิดเริ่มต้นในการออกแบบจากสิ่งที่เป็นกายภาพภายนอก ให้เป็นตัวกำหนดพื้นที่ว่างและการใช้งานภายใน ทำให้การก่อรูปทางสถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนไปจากรูปแบบเดิม
Type:
Degree Name:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
511