ปราสาทเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การซ่อมแปลงและแรงบันดาลใจสู่ธาตุเจดีย์
Other Title:
An analysis of stylistcally from Khmer Towers to Chedi in the Northeast of Thailand
Author:
Advisor:
Subject:
เจดีย์ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- อิทธิพลกัมพูชา
ปราสาท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- อิทธิพลกัมพูชา
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- โบราณสถาน
ปราสาท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
สถาปัตยกรรมไทย -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- อิทธิพลกัมพูชา
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- วิทยานิพนธ์
ปราสาท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- อิทธิพลกัมพูชา
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- โบราณสถาน
ปราสาท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
สถาปัตยกรรมไทย -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- อิทธิพลกัมพูชา
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- วิทยานิพนธ์
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ เรื่อง ปราสาทเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การซ่อมแปลงและแรงบันดาลใจสู่ธาตุเจดีย์ เป็นการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบปราสาทเขมรที่ถูกซ่อมแปลง และกลุ่มโบราณสถานอีกกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่าปราสาท แต่เป็นการสร้างขึ้นเพื่อเป็นเจดีย์ ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การซ่อมแปลงปราสาทและสร้างเจดีย์ดังกล่าวนั้น เพื่อที่จะให้เป็นเจดีย์ในพุทธศาสนา โดยที่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นช่วงที่วัฒนธรรมเขมรเสื่อมอำนาจลงไปแล้ว ผู้วิจัยมีความสนใจจึงได้นำโบราณสถานกลุ่มนี้ มาศึกษาถึงลักษณะการซ่อมแปลงและแรงบันดาลใจจากปราสาทเขมรสู่การสร้างพระธาตุเจดีย์
ตัวอย่างแหล่งโบราณสถานที่นำมาศึกษามีทั้งหมด 11 แห่ง ลักษณะการซ่อมแปลงปราสาทเขมรและกลุ่มเจดีย์ที่มีแรงบันดาลใจจากปราสาท ต่างก็มีอิทธิพลรูปแบบที่หลากหลาย มีทั้งแนวคิดยอดแบบปราสาท คือ การทำเรือนหลังคาซ้อนเป็นชั้นลดหลั่นกัน หรือการทำเรือนชั้นซ้อนแบบปราสาทเขมร ที่จะมีการทำช่องวิมาน บรรพแถลงและนาคปักประดับอยู่ด้วย รวมไปถึงรูปแบบเจดีย์ในศิลปะลาวล้านช้าง เช่น เจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ปรากฏกับการซ่อมแปลงด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้นอกเหนือจากการวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบแล้ว ยังมีส่วนที่วิเคราะห์ถึงสาเหตุการซ่อมแปลงปราสาท รวมไปถึงด้านความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกลุ่มคนในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย สำหรับสาเหตุในการซ่อมแปลง เหตุผลหลักมาจากความเชื่อของคนที่เปลี่ยนไป คือ การเปลี่ยนศาสนา จากศาสนาพราหมณ์ที่ส่วนใหญ่จะมีมาคู่กับโบราณสถานเขมรตั้งแต่แรกสร้าง แล้วถูกเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่มีการสร้างเจดีย์เป็นที่เคารพบูชา สำหรับกลุ่มคนในประวัติศาสตร์ เช่น กลุ่มชาวลาว หรือกลุ่มชาวกูย กับความสัมพันธ์ด้านรูปแบบที่ซ่อมแปลงและการสร้างเจดีย์ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า โบราณสถานในแต่ละแห่ง มีช่างที่ซ่อมแปลงมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ใด เพราะอาจเป็นความถนัดของช่างหรือเป็นการสร้างเลียนแบบต่อ ๆ กันมา อีกทั้งส่วนใหญ่ โบราณสถานที่นำมาศึกษาเป็นโบราณสถานร้าง ทำให้ไม่สามารถระบุถึงประวัติการสร้างที่ชัดเจนได้
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
1584
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
สิมพื้นบ้านในจังหวัดยโสธร
Collection: Theses (Master's degree) - Art History / วิทยานิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะType: Thesisพิมพ์พรรณ เชิดชู (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559)วิทยานิพนธ์เล่มนี้ทำการศึกษารูปแบบของสิมพื้นบ้านในจังหวัดยโสธร โดยเน้นจุดมุ่งหมายคือการศึกษารูปแบบของสิมในจังหวัดยโสธร ถึงลักษณะของรูปแบบรวมถึงการรับอิทธิพลทั้งจากภายในและภายนอกเข้ามา โดยเฉพาะจากทางล้านช้าง วิทยานิพนธ์ฉบ ... -
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน
Collection: Theses (Master's degree) - Thai Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมไทยType: Thesisปองพล ยาศรี; Pongpon Yasri (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2007) -
สิมพื้นถิ่นอีสานตอนกลาง
Collection: Theses (Master's degree) - History of Architecture / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมType: Thesisสุวิทย์ จิระมณี; Suwit Jiramanee (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1990)การศึกษาสิมพื้นถิ่นอีสานตอนกลาง โดยมีจุดมุ่งหมายศึกษาลักษณะ รูปแบบของสิม และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของชุมชนอีสานในเชิงประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น รวมทั้งคติและแนวความคิดบางประการ จากการรวบรวมข้อมูลที่ยังคง ...