มิติความเป็นชุมชนของผู้อยู่อาศัยในเคหะสงเคราะห์ : กรณีศึกษาแฟลตดินแดง
ชื่อเรื่องอื่น:
The community's dimension of Dweller in social housing, case study : the Din Daeng flat
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2559
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการใช้สอยพื้นที่และกิจกรรมของผู้อยู่อาศัยในแต่ละหน่วยย่อยหรือระดับครัวเรือน 2) ศึกษารูปแบบการใช้สอยพื้นที่ การรวมกลุ่ม และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้อยู่อาศัย 3) เพื่อนำเสนอมิติความเป็นชุมชนของผู้อยู่อาศัยในแฟลตดินแดง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้พื้นที่โครงการแฟลตดินแดงในพื้นที่ส่วนกลางจำนวน 40 ราย และผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ส่วนตัวของโครงการแฟลตดินแดงจำนวน 15 ราย
วิธีวิจัยประกอบด้วย 1) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) การรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม โดยการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้พื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ส่วนตัวของโครงการแฟลตดินแดง 3) การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม 4) การสรุปผลการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า
1. พื้นที่ส่วนกลางหรือพื้นที่สาธารณะ พบรูปแบบของชุมชนที่เชื่อมโยงกันผ่านวิชาชีพได้บ่อยครั้งหรือมีความถี่มากที่สุด คือ ร้อยละ 28.57 และมีความเข้มแข็งมากที่สุด คือ ร้อยละ 30.39 ซึ่งสอดคล้องกัน
2. พื้นที่ส่วนตัว พบรูปแบบของชุมชนกายภาพได้บ่อยครั้งหรือมีความถี่มากที่สุด คือ ร้อยละ 32.61 และมีความเข้มแข็งมากที่สุด คือ ร้อยละ 37.09 ซึ่งสอดคล้องกัน
3. โครงการแฟลตดินแดงมีรูปแบบของชุมชนที่หลากหลายและมีความสัมพันธ์กันระหว่างรูปแบบของชุมชน ซึ่งมีความเกี่ยวโยงและซับซ้อนกว่าการพยายามแบ่งหัวข้อประเภท
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
392