พระพุทธรูปสำริดสกุลช่างฝางในอำเภอฝางและอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
Other Title:
The bronze Buddha images og Fang School in Fang and Mae Ai Districts of Chiang Mai
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบ จำแนกกลุ่มและกำหนดอายุสมัยของพระพุทธรูปสำริดสกุลช่างฝาง 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพระพุทธรูปสำริดสกุลช่างฝางกับพระพุทธรูปสำริดกับสกุลช่างอื่น ๆ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างของพระพุทธรูปสำริดสกุลช่างฝางกับประวัติศาสตร์เมืองฝาง
ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษารูปแบบของพระพุทธรูปสำริดสกุลช่างฝาง สามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกพระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากสกุลช่างหลวง กำหนดอายุอยู่ในช่วงต้น – กลาง พุทธศตวรรษที่ 21 และกลุ่มที่สองพระพุทธรูปมีรูปแบบเป็นท้องถิ่น กำหนดอายุสมัยช่วงปลาย พุทธศตวรรษที่ 21 – ปลายพุทธศตวรรษที่ 22
2. พระพุทธรูปสำริดสกุลช่างฝาง ได้รับอิทธิพลทางศิลปะมาจาก อิทธิพลกลุ่มช่างหลวง (เชียงใหม่) กลุ่มเชียงแสน เชียงราย ซึ่งได้มีการผสมผสานรูปแบบจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของสกุลช่างฝางขึ้น กล่าวคือ พระพุทธรูปมีเปลือกพระเนตรขนาดใหญ่ ส่วนประกอบบนพระพักตร์นิยมเซาะให้เกิดร่อง พระศอยาว สังฆาฏิ แผ่นใหญ่ ปลายตัด และส่วนปลายตกแต่งลวดลาย นิ้วพระหัตถ์ทั้งห้ายาวเกือบเสมอกันทั้งหมด และมีฐานบัวสูง ซึ่งมีลวดบัวรองรับ
3. อิทธิพลทางศิลปกรรมของพระพุทธรูปมีผลมาจากความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กับเมืองใกล้เคียง แม้กระทั้งในช่วงที่อาณาจักรล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ยังคงปรากฏหลักฐานว่ามีการสร้างพระพุทธรูปและพัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่างฝางอย่างต่อเนื่อง สะท้อน ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองฝางในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ได้เป็นอย่างดี
Type:
Degree Name:
ศิลปมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
1140