การเปลียนรูปสถาปัตยกรรมระบบสัญลักษณ์

Other Title:
Metamophosis of symbolic architecture
Author:
Advisor:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เรื่องของกระบวนการสื่อสารของงานสถาปัตยกรรมในรูปแบบของสัญลักษณ์ ซึ่งมีการสื่อความหมายตามหลักทฤษฎีภาษาศาสตร์และ สัญศาสตร์ สามารเรียกได้ว่า ”กระบวนการสื่อสาร” และมีอาคารในฐานะรูปสัญญะหรือทฤษฎีสถาปัตยกรรมเป็ด (The duck) สามารถเรียกได้ว่า “รูปแบบของสาร” หรือเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรมรูปแบบหนึ่ง โดยมีทฤษฎีการมองเห็น(Visual Sense)ตามหลักการมองของทัศนศิลป์ หรือเรียกได้ว่า “กระบวนการอ่านสาร”
จากการศึกษากระบวนการสื่อสารตามหลักทฤษฎีสัญศาสตร์ปรากฏว่า กระบวนการสื่อสารของรูปสัญลักษณ์นั้นมีโครงสร้างอยู่สองส่วนคือ รูปสัญญะ (รูปธรรม) และ ความหมายสัญญะ (นามธรรม) ตามหลักปรัชญาโครงสร้างนิยมถึงหลังโครงสร้างนิยม ซึ่งสามารถนำหลักดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับงานสถาปัตยกรรมได้ คือ “กระบวนการสื่อสารรูปสัญลักษณ์ถูกร้อยเรียงขึ้นจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเกิดเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรมหรือเรียกได้ว่ารูปแบบของสาร” เพื่อทำให้เกิดกระบวนการสื่อสาร และจากการศึกษารูปแบบของสารจากทฤษฎีสถาปัตยกรรมเป็ด หรือ อาคารในฐานะรูปสัญญะที่มีกระบวนการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา เมื่อนำรูปแบบของสารกรณีศึกษาอาคารตัวอย่างมาสังเคราะห์กับกระบวนการอ่านสาร พบว่ารูปแบบของสารมิได้มีเพียงการมองเห็นในระดับธรรมดา (Opration Seeing) หรือแบบตรงไปตรงมาเท่านั้น แต่มีการมองเห็นในระดับความเชื่อทัศนคติ (Pure Seeing) อีกทั้งรูปแบบของสารนั้นมีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างแท้จริง มิใช่ภาษาในแบบประติมากรรมเสมือนทำให้สามารถจำแนกทฤษฎีเพิ่มเติมจากของเดิมได้ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น รูปแบบของสารในระดับจินตนาการ
จากการกำหนดการออกแบบกรอบสมมุติฐานและวัตถุประสงค์ การลดทอนความเสมือนของ รูปสัญลักษณ์ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า องค์ประกอบที่คุ้นเคย นั้นสามารถลดทอนความเสมือนของวัตถุได้ แต่จะรูปสัญลักษณ์นั้นถูกเปลี่ยนรูปไปเพียงชั่วขณะหนึ่งและจะกลับมาเป็นสัญลักษณ์ใหม่จากความคุ้นเคยของการมองเห็น จากการออกแบบและทดลองบนพื้นฐานของเดียวกันรูปแบบของสาร เพื่อนำมาทำแบบสอบถาม จากการตั้งคำถามของสมมุติฐาน เมื่อรูปสัญลักษณ์ถูกลดทอนความเสมือนลงมนุษย์ในฐานะผู้อ่านสารจะสามารถรับรู้ถึงกระบวนการสื่อสารได้หรือไม่ จากการทำแบบสอบถามปรากฏว่าในประสบการณ์แรกจากการมองเห็นนั้นมีเพียง 1ใน 4 เท่านั้นที่สามารถรับรู้ได้ เพื่อให้ได้คำตอบอย่างเที่ยงตรงและแม่นยำมากกว่านี้ ควรจะมีผู้ทดสอบที่มีจำนวนมากเพียงพอและมากกว่านี้ในลำดับต่อๆ ไป กระบวนการทดสอบครั้งนี้คงเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการศึกษาของครั้งต่อไป
Type:
Degree Name:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
208