พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน : กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
“พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน: กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร” เป็นวิทยานิพนธ์ที่มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเฮือนชาวนาอีสาน และวิถีชีวิตชาวนาในพื้นที่ศึกษา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร รวมถึงสิ่งใดที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตชาวนาที่สะท้อนถึงเฮือนชาวนาซึ่งเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของชาวนาในพื้นที่กรณีศึกษา
การศึกษาครั้งนี้มีคำถามของการศึกษาอยู่ 3 ประการ คือ วิถีชีวิตชาวนาที่ปรากฏในรูปแบบคติชน ประเพณี พิธีกรรม ในพื้นที่กรณีศึกษาจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร เฮือนชาวนาอีสานในพื้นที่กรณีศึกษา ในปัจจุบันมีพลวัต อย่างไร และ ผลกระทบอันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนวิถีวัฒนธรรมและกายภาพต่อความเป็นอยู่รวมถึงการดำเนินชีวิตของชาวนาในพื้นที่กรณีศึกษา เป็นอย่างไร
จากการศึกษาโดยการศึกษารวบรวมข้อมูลจากภาคเอกสาร การลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์ภายในชุมชนกรณีศึกษา ทำให้เห็นว่า เฮือนชาวนา มีพลวัตอยู่หลายด้านทั้งในเรื่องของวิถีชีวิตชาวนาที่แสดงออกมาในรูปแบบของคติชน ประเพณี พิธีกรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนไป เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงเฮือนชาวนาเองก็เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในการทำนาในรูปแบบใหม่ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิต จึงส่งผลให้ชาวนาในพื้นที่ต้องจัดหาพื้นที่จัดเก็บ เครื่องจักรกลการเกษตรที่มีราคาแพง ให้ปลอดภัยจากการโจรกรรมและง่ายต่อการดูแลรักษา โดยการปรับผังเฮือน เพิ่มพื้นที่จัดเก็บเครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงเพิ่มหรือลดองค์ประกอบต่างๆ ในผังเฮือนชาวนาให้สะดวกและเหมาะสมต่อการใช้ของชาวนา
ประการสุดท้ายที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือเรื่องของการคมนาคมที่มีสะดวกสบายมากขึ้นจากอดีต ทำให้ชาวนาให้ความสำคัญกับการอยู่เฮือนมากกว่าการอยู่ในที่นา ชาวนาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงซ่อมแซมเฮือนให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมที่จะเป็นที่อยู่อาศัย และปรับปรุงต่อเติมบริเวณเฮือนให้เหมาะสมกับการทำนาในวิถีปัจจุบัน รวมถึงปรับเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างเฮือนที่ผุพังตามกาลเวลามาเป็นวัสดุสมัยใหม่ที่มีความแข็งแรงมากกว่า ทนทานมากกว่า และหาง่ายมากกว่าวัสดุเดิม เพราะวัสดุสมัยใหม่มีขายโดยทั่วไปในร้านค้าหรือโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างที่กระจายตัวในพื้นใกล้เคียงชุมชน
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
262
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
สิมพื้นบ้านในจังหวัดยโสธร
Collection: Theses (Master's degree) - Art History / วิทยานิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะType: Thesisพิมพ์พรรณ เชิดชู (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559)วิทยานิพนธ์เล่มนี้ทำการศึกษารูปแบบของสิมพื้นบ้านในจังหวัดยโสธร โดยเน้นจุดมุ่งหมายคือการศึกษารูปแบบของสิมในจังหวัดยโสธร ถึงลักษณะของรูปแบบรวมถึงการรับอิทธิพลทั้งจากภายในและภายนอกเข้ามา โดยเฉพาะจากทางล้านช้าง วิทยานิพนธ์ฉบ ... -
บ้านดิน : สถาปัตยกรรมทางเลือก กรณีศึกษา : บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
Collection: Theses (Master's degree) - Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมType: Thesisดวงนภา ศิลปลาย; Duangnapa Sinlapasai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2003)จากการปลูกสรางอยางตอเนื่องของบ้านดินในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จนกลายเปนกระแสบานดินขึ้นมา คือ จุดมุงหมายของวิทยานิพนธ บานดิน สถาปัตยกรรมทางเลือก โดยศึกษาถึงปัจจัยแวดลอมตางๆ ในการเลือกปลูก สรางบานดิน โดยกําหนดกรอบการศึกษา ... -
The study of ancient “Bang Fai” rocket and application of its design identity for home decoration products aiming at western tourists in Bangkok: Case study of the rocket craftsmakers in Ban Sing Tha, Yasothon Province
Collection: Theses (Master's degree) - Product Design / วิทยานิพนธ์ – การออกแบบผลิตภัณฑ์Type: ThesisSasiphorn CHAIPRASERT; ศศิภรณ์ ไชยประเสริฐ; Treechada Chotiratanapinun; ตรีชฎา โชติรัตนาภินันท์; Silpakorn University. Decorative Arts (Silpakorn University, 12/6/2020)The research aims to 1) study the identity of ancient Bang Fai as a guide to design home décor for western tourists, 2) survey the demand and preference of western tourists for cultural style home décor, 3) design home ...