วัฒนธรรมเพลงเชียร์ กรณีศีกษา : เชิงชาติพันธุ์วรรณางานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

Other Title:
Cheer song culture : the ethngraphic study of CU-TU annual football match
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมการเชียร์กีฬาระหว่างสองมหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) ศึกษาองค์ประกอบของเพลงเชียร์ ขั้นตอนการเชียร์และผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมการเชียร์กีฬา โดยใช้งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 70 เป็นกรณีศึกษา
การวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมเพลงเชียร์ กรณีศึกษา : เชิงชาติพันธุ์วรรณางานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านมานุษยดนตรีวิทยา (Ethnomusicology) โดยมุ่งศึกษาภาคสนาม (FieldWork) รวมทั้งศึกษาผ่านเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้ง เอกสารงานวิจัย หนังสือ วารสาร สื่อออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการสัมภาษณ์ ทั้งชุมนุมเชียร์ ผู้นำเชียร์ แม่ทัพเชียร์ รวมถึงบุคคลฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า
เพลงเชียร์ คือเพลงปลุกใจประเภทหนึ่งที่มักใช้ในการแข่งขันกีฬา ซึ่งสถาบันการศึกษาได้มีกระบวนการปลูกฝังเพลงเชียร์กับนักศึกษาใหม่ ตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้ารับการศึกษา ผ่านกิจกรรมรับน้องและประชุมเชียร์ภายใต้ระบบ โซตัส สิ่งนี้ก่อเกิดเป็น กระบวนการขัดเกลาทางสังคม ที่นักศึกษาได้ซึมซับพฤติกรรมกระบวนการความคิด และการแสดงออกร่วมกัน
การร้องเพลงเชียร์ได้สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในการร่วมแสดงออกทางจุดยืนของนักศึกษาต่อสถาบันของตน โดนใช้เพลงเชียร์เป็นสื่อกลางในการแสดงออก ที่ต้องอยู่ร่วมกับบทบาทหน้าที่ต่างๆ ในการเชียร์ ถึงจะเกิดผลต่อการแสดงออกของนักศึกษาสูงสุด โดยสามารถแบ่งผลกระทบการร้องเพลงเชียรค์ต่อนักศึกษาได้ใน 2 ลักษณะ คือการร้องเพลงเชียร์แบบมีส่วนร่วมและ การร้องเพลงเชียร์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลกระทบต่อการเชียร์นี้ได้เป็นภาพสะท้อนของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนถึงความเป็นมหาวิทยาลัยหัวก้าวหน้าเป็นผู้นำของยุคสมัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สะท้อนให้เห็นถึงอุดมการณ์ดั้งเดิมของมหาวิทยาลัย คือ เรื่องของการเมืองเป็นสำคัญ
ทั้งนี้การศึกษาเพลงเชียร์ ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นภาพสะท้อนอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยได้ทั้งหมด ยังคงมีอีกหลายแง่มุมที่สามารถแสดงออกได้ และถ้ามองจากมุมมองจากคนใน ก็ยอมก็มีความแตกต่างจากมุมมองคนนอก
Type:
Degree Name:
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
1501