ความสัมพันธ์ของชุมชนกับศิลปกรรมในวัดราษฎร์ริมคลองสามเสน
ชื่อเรื่องอื่น:
Relationship between communities and the artistic motif in temples along Klong Samsen
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2004
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
จากการศึกษาศิลปกรรมที่มีอยู่ในวัดราษฎร์ทั้ง 4 วัดที่ตั้งอยู่ริมคลองสามเสน ได้แก่ วัดที่สร้างในสมัยอยุธยา คือวัดโบสถ์สามเสน และวัดที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ วัดประสาทบุญญาวาส วัดสวัสดิ์วารีสีมาราม และวัดอัมพวัน รวมทั้งชุมชนที่อยู่ล้อมรอบวัดดังกล่าว ได้ผลการศึกษาว่า ในอดีตชุมชนมีอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปกรรมในวัด จึงทำให้ศิลปกรรมสามารถสะท้อนภาพของชุมชยได้เป็นต้นว่า บ่งบอกถึงช่วงเวลาที่มีการตั้งถิ่นฐาน คติความเชื่อ ตลอดจนเชื้อสายและภูมิลำเนาเดิมของชุมชนนั้น ส่วนในปัจจุบัน สภาพสังคมและการคมนาคมทำให้การเคลื่อนย้ายผู้คนและศิลปกรรมระหว่างท้องถิ่นเป็นไปอย่างคล่องตัว จึงทำให้ชุมชนจากภายนอกเข้ามามีบทบาทในการสร้างศิลปกรรมภายในวัดมากขึ้น และรูปแบบศิลปกรรมมีความคล้ายคลึงกันหมดในทุกท้องถิ่น
นอกเหนือจากชุมชนใกล้วัดแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลกำหนดรูปแบบงานศิลปกรรม ที่สำคัญ เช่น ผู้สร้างวัด พระสงฆ์และช่าง เส้นทางคมนาคม เป็นต้น ส่วนอิทธิพลที่มีต่อกันเนื่องจากเป็นวัดที่อยู่บนเส้นทางสัญจรเดียวกันนั้น พบว่ามีบางส่วนที่อาจจะส่งทอดให้กัน แต่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
การศึกษาศิลปกรรมในวัดร่วมกับค้นหาความเป็นมาของชุมชน ทำให้ทราบได้ว่า พื้นที่ริมคลองสามเสน มีชุมชนตั้งอยู่แล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายหรืออย่างช้าในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยเป็นชุมชนชาวไทย จากนั้นมีการเพิ่มจำนวนชุมชน โดยมีชาวจีนเข้ามาอยู่ด้วยในสมัยรัชกาลที่ 3 จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 พื้นที่นี้จึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก อันเนื่องมาจากการตั้งพระราชวังดุสิตในบริเวณใกล้เคียง และการพัฒนาพื้นที่ของรัชกาลที่ 5 ทำให้บริเวณสามเสนมีการขยายตัวและมีคนเข้ามาอยู่อาศัยรวมทั้งประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น โดยมีทั้งเจ้านายชั้นสูง ขุนนาง ข้าราชการ นักธุรกิจ คหบดี รวมทั้งลูกจ้างแรงงาน และได้กลายเป็นชุมชนการค้าและอยู่อาศัยที่หนาแน่นมากขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง The research’s purpose is to study the relationship between communities and art works found in temples along Klong Samsen. In the study, four temples under general people’s patronage were chosen namely : Wat Botsamsen, Wat Prasatbunyawat, Wat Sawatwareesimaram, and Wat Amphawan. The first was built in the Ayutthaya period while the last three in the reign of King Rama III. The results are that the past communities have close relationship with the art motifs of the temples. This makes art works of temples can mirror some features of communities. However, at present days, due to the change of society and convenient transportations, communities in other areas have many more influences to the art execution the temples than the past.
Apart from communities nearby the temples, there are some factors determining art styles. Those are patrons, monks, artisans and transportation. The art motif of each temple is also influenced by other temples situated in the same canal. However, the influence of this kind is not prominent.
The study of art motifs in temples as well as the origins of communities makes us realize that the area along Klong Samsen was populated by Thai people in the late Ayutthaya or the early Rattanakosin periods. Later on, the Chinese settled down in this zone in the reign of King Rama III. In the time of King Rama V, there was a great change occurring in Klong Samsen. Owing to the construction of Dusit Palace in the neighboring area, the land development project of King Rama V. Those factors urged people of all classes move to Samsen. After the World War II, Samsen has become a trade center and densely populated.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
จำนวนดาวน์โหลด:
808
ดู/เปิด
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาปัญหาและปัจจัยที่มีความสำคัญต่อศักยภาพพื้นที่ย่านบ้านหม้อ วังบูรพาภิรมย์
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Urban Design / วิทยานิพนธ์ - การออกแบบชุมชนเมืองประเภทผลงาน: Thesisพชรวรรณ แก้วขาว; Patcharawan Kaewkhao (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013)This research aims to study factors and problems that after potential and role of Banmo commercial area. This potential and role had made this area significantly important until present day. This paper also intends to ... -
ความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งตนเองกับทุนทางสังคมของชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Public Administration / วิทยานิพนธ์ – รัฐประศาสนศาสตร์ประเภทผลงาน: Thesisณัฐกาล เรืองอุดม; Nattakarn Ruangoudom (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011) -
ความเหมาะสมในการออกแบบพืชพรรณบนทางเท้า ถนนสีลม ถนนพระราม1 และถนนสุขุมวิท
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Landscape Architecture / วิทยานิพนธ์ - ภูมิสถาปัตยกรรมประเภทผลงาน: Thesisจรัลภัทร ตรีพรทิพย์; Charanpat Treeporntip (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการเลือกพรรณไม้และวิเคราะห์การออกแบบพืชพรรณที่เหมาะสมในการนำไปปลูกบนทางเท้าบนถนนสายหลัก ถนนสีลม ถนนพระราม 1 และถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่มีความสำคัญของกรุงเทพมหานคร ...