คติการสร้างและแนวความคิดในการออกแบบพระมหาธาตุเจดีย์ของหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี
ชื่อเรื่องอื่น:
The concept in the creation of stupas of Mitraroon Kasemsri
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2559
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
ในการศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษาเฉพาะพระธุตังคเจดีย์ พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ พระมหาธาตุเจดีย์ศรีนครินทรา มหาสันติคีรี และพระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ โดยศึกษาเฉพาะคติการสร้าง รูปแบบศิลปกรรม สถาปัตยกรรมและหน้าที่การใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของพระมหาธาตุเจดีย์ และการส่งต่ออิทธิพลทางศิลปะจากพุทธสถานท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สู่ผลงานการออกแบบสมัยใหม่ของหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี
คติการสร้างและแนวความคิดพระมหาธาตุเจดีย์ทั้ง 4 แห่งน่าจะได้รับแนวคิดและรูปแบบการสร้างจากงานพุทธสถานชิ้นเอกของท้องถิ่นนั้น ๆ รวมถึงยังพบลักษณะเฉพาะของรูปแบบศิลปะล้านนา เชียงแสน ศรีวิชัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ที่ส่งต่อมายังงานของหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรีอีกด้วย โดยอาจกล่าวได้ว่าพระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับอิทธิพลด้านศิลปกรรมจากพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ, พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ วัดพุทธธาธิวาส จังหวัดยะลา ได้รับอิทธิพลด้านศิลปกรรมจากพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี จากนั้นก็ได้นำพระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ วัดพุทธาธิวาส จังหวัดยะลา มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบพระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ วัดทางสาย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากตั้งอยู่ในภาคเดียวกันและพระมหาธาตุเจดีย์ศรีนครินทรามหาสันติคีรี วัดสันติคีรี ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ก็ได้นำรูปแบบศิลปกรรมชิ้นเอกในท้องถิ่นมาเป็นต้นแบบอย่างเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย โดยพระมหาธาตุเจดีย์ทั้ง 4 แห่ง มีการผสมผสานแนวคิดทั้งแบบไทยประเพณีมาประยุกต์กับแนวคิดอย่างใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความโดดเด่น แสงสว่างจากธรรมชาติผ่านกระจกสีเชิงสัญลักษณ์ และประโยชน์ใช้สอยจากพื้นที่ว่างภายในตัวอาคารและลานประทักษิณด้านนอกของพุทธสถาน ที่มีการออกแบบแบ่งหน้าที่การใช้งานในแต่ละส่วนได้อย่างลงตัว พัฒนาจนเป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเอง และเป็นแนวคิดใหม่ในการสร้างพุทธสถานตามกระแสนิยมในปัจจุบัน
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
670