การสำรวจภูมิทัศน์ทางดนตรีบนถนนข้าวสาร

Other Title:
Soundscape on Khaosanroad
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิทัศน์ทางเสียงและความเป็นมาของดนตรีบนถนนข้าวสารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ผลการวิจัยพบว่าถนนข้าวสารประกอบด้วยวัฒนธรรมเสียงและความบันเทิงหลายประเภท แต่สิ่งที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดคือดนตรีซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจบนถนนเส้นนี้อย่างมากเนื่องจากเป็นแหล่งรวมของสถานบันเทิงและนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ผู้วิจัยได้สำรวจพิกัดของเสียงดนตรีนั้นพบว่ามีอยู่จำนวนทั้งหมด 22 จุด โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ช่วง คือ หัวถนน จุดที่หนึ่ง 1-8, กลางถนน จุดที่สอง 9-16, จุดที่สาม 17-22 ซึ่งพบรูปแบบดนตรีอยู่ 3 ชนิด คือ
1. ดนตรีสดบรรเลงเป็นวงและเดี่ยว พบอยู่ 6 จุด ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยเยอะที่สุดซึ่งสำคัญที่สุดในเชิงประวัติศาสตร์และกิจกรรมทางดนตรีที่ส่งผลให้ถนนข้าวสารเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น
2. การเปิดแผ่นเสียงดนตรียอดนิยมในรูปแบบ EDM พบอยู่ 15 จุด ซึ่งเป็นจุดที่มีปริมาณมากที่สุดแต่ก็ไม่ได้มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์แต่อย่างใด
3. การเปิดแผ่นเสียงดนตรีทางเลือก (Alternative music) พบอยู่ 1 จุด
โดยในแต่ละพิกัดก็จะมีเอกลักษณ์องค์ประกอบที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างโดยรอบไม่ว่าจะเป็น ช่วงเวลา นักท่องเที่ยว ลักษณะการประกอบการหรือไม่เว้นแม้แต่ข้อบังคับทางกฎหมาย โดยช่วงเวลาที่ดนตรีมีบทบาทมากที่สุดก็คือช่วงเวลา 22.00 น. – 01.00 น. อันแสดงถึงพฤติกรรมการตอบสนองต่างๆ ต่อเสียงดนตรีของผู้คนที่มาใช้บริการบนถนนข้าวสาร ซึ่งดนตรีนั้นเป็นตัวช่วยให้กิจกรรมบนถนนข้าวสารนั้นมีความหมายมากขึ้น และยังพบอีกว่าถนนเส้นนี้เป็นแหล่งรวมกันของดนตรีในเพลงอมตะทั่วโลกและการแสดงอำนาจของดนตรีสมัยนิยมอย่างดนตรี EDM ในรูปแบบของ House, Hip-hop ที่มีบทบาทกับระบบเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
Type:
Degree Name:
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
580