เสียงและความสงบในสถาปัตยกรรม
Other Title:
Sound and silent in architecture
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆ โดยอาศัยประสาทการรับรู้ต่างๆ ผ่านสัมผัสทางร่างกาย เช่น การมองเห็น การสัมผัส หรือการได้กลิ่น เป็นต้น เพื่อรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม แล้วจึงเกิดการปฏิสัมพันธ์ต่อพื้นที่ขึ้นมา เช่นเดียวกับสถาปนิกที่มักเรียนรู้สภาพแวดล้อมหรือพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อพื้นที่นั้นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำมาประยุกต์เพื่อออกแบบอาคารหรือสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมต่อบริบทของพื้นที่
ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาการออกแบบพื้นที่ ที่คำนึงถึงผลลัพธ์ในการออกแบบซึ่งส่งผลต่อเสียงอันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสภาวะแวดล้อมที่สำคัญ ซึ่งอาศัยวิธีการก่อรูปอาคารแบบ aggregation โดยระบบดังกล่าวปรากฏแนวคิดในการออกแบบที่สามารถนำมาใช้ออกแบบพัฒนาลักษณะของพื้นที่ได้ โดยแนวคิดดังกล่าวได้ส่งผลตั้งแต่ระดับการออกแบบรูปทรงของวัสดุที่จะนำมาประกอบเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นการก่อรูปอาคาร การสร้างลักษณะการปิดล้อมพื้นที่ การจัดการความสัมพันธ์ของลักษณะการใช้สอยอาคารได้ ตลอดจนการปรับใช้แนวคิดเหล่านั้นร่วมกับเงื่อนไขของพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันในเรื่องเสียงซึ่งผู้วิจัยได้ตั้งสมมุติฐานขึ้นด้วย ตลอดจนอาจส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่ตอบสนองต่อรูปแบบอาคารที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน
ที่สุดแล้ว การออกแบบพื้นที่ซึ่งอาศัยวิธีการก่อรูปอาคารแบบ aggregation ซึ่งคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อเสียงนั้น สามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ได้ เช่นเดียวกับการอาศัยปัจจัยอื่นๆ
ทางสิ่งแวดล้อม
Type:
Degree Name:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
2112