บทบาทของดนตรีในการต่อสู้ภาคประชาชน : กรณีศึกษาวงคีตาญชลี

Other Title:
The roles of protest music in people's political moment with a case study of Keetanchalee Band
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยเรื่อง บทบาทของดนตรีในการต่อสู้ภาคประชาชน : กรณีศึกษา วงคีตาญชลี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของวงคีตาญชลี 2. เพื่อศึกษาบทบาทของดนตรีในการต่อสู้ภาคประชาชนกรณีศึกษาวงคีตาญชลีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยทางมานุษยดุริยางควิทยา (Ethnomusicology) การวิจัยได้นำวิธีวิเคราะห์สำคัญ 3 ด้าน คือ 1. บทเพลงและรูปแบบการแสดง 2. คุณลักษณะและความสามารถของศิลปิน และ 3. วิเคราะห์บทเพลงที่ใช้ในการแสดง 8 เพลง
ผลการวิจัยพบว่า วงคีตาญชลีเริ่มต้นในปี 2525 สมาชิกก่อตั้ง 2 คน ซึ่งมีความสนใจทางการเมืองอย่างชัดเขน และใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ภาคประชาชน ในลักษณะดนตรีเพื่อชีวิต จนครบ 6 คน ในปี 2556 ทั้งนี้สมาชิกหลักทั้งหมดคือครอบครัวเดียวกัน จึงสามารถปลูกฝังและส่งต่ออุมดมการณ์การเล่นดนตรีเพื่อรับใช้ประชาชนได้โดยง่าย ทางวงยังมีพัฒนาการทางความคิดโดยการส่งต่ออุดมการณ์สู่คนรุ่นหลังคือ ลูก-หลาน บทเพลงที่ใช้ในการศึกา 8 เพลง มีประวัติศาสตร์ที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยอย่างชัดเจน ผลิตโดยคีตาญชลีและศิลปินกลุ่มอื่นๆ ใช้แสดงสดและบันทึกเสียงตลอดเวลา พบว่าดนตรีมีบทบาทเป็นอย่างมากในการต่อสู้ภาคประชาชน จากการวิเคราะห์สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 5 ข้อ คือ 1)ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟังถึงปัญหาสังคม ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต 2)สร้าง-รักษาคุณค่าและอัตลักษณ์ ของสาเหตุของการประท้วง 3)สร้างความชอบธรรมต่อกิจกรรมการเคลื่อนไหว 4)แนะนำคำตอบในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาสังคม 5)โฆษณาให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดี และความสามัคคีในการขับเคลื่อนการชุมนุม
Type:
Degree Name:
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
2449