การศึกษาประติมากรรมรูปสัตว์ประดับสถาปัตยกรรมทางศาสนาของเมืองเชียงใหม่ ในพุทธศตวรรษที่ 24
Other Title:
A study of animal motif decorated on the exxlesiastical architecture in Chiang Mai of the 24th century A.D.
Date:
1993
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการใช้ประติมากรรมรูปสัตว์ประดับสถาปัตยกรรมทางศาสนา ในเมืองเชียงใหม่ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งพบว่าได้มีความนิยมใช้อย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีการเลือกชนิดของสัตว์ที่นำมาประดับ, ระเบียบตำแหน่งการประดับ ลักษณะรูปทรงของกรอบรูป เป็นแบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน
การวิจัยนั้นได้อาศัยข้อมูลเบื้องต้นจากหนังสือด้านประวัติศาสตร์, โบราณคดี และศิลปะเป็นพื้นฐาน ทำการสำรวจ, ถ่ายภาพศาสนสถานที่ปรากฎการใช้รูปสัตว์ประดับนำมาจัดระบบข้อมูลเป็นหมวดหมู่ แล้วทำการวิเคราะห์, วิจัยให้ได้ผลสรุปของการศึกษาในที่สุด
เนื้อหาของวิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 5 บทย่อย ประกอบด้วย บทที่ 1 กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของปัญหา, วัตถุประสงค์ทางการศึกษา, ขั้นตอนและวิธีการศึกษา, ข้อตกลงเบื้องต้นแหล่งข้อมูลในการศึกษา, ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ บทที่ 2 เป็นเรื่องลวดลายประดับสถาปัตยกรรมเมืองเชียงใหม่ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 บทที่ 3 เป็นรายละเอียดของศาสนสถานที่ใช้ในการศึกษาและลวดลายรูปสัตว์ที่ใช้ประดับศาสนสถานแต่ละแห่ง บทที่ 4 เป็นบทวิเคราะห์ และบทที่ 5 เป็นบทสรุป ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การใช้รูปสัตว์ประดับศาสนสถานนี้มีการคัดเลือกเอาสัตว์ที่เชื่อว่าปกป้องคุ้มกันภัยได้ และเป็นมงคลกับศาสนสถานมาใช้มีระเบียบวิธีการประดับในแต่ละตำแหน่งโดยเฉพาะ รับอิทธิพลการประดับรูปสัตว์บางประการจากงานรุ่นเก่าในพุทธศตวรรษที่ 24 ทั้งชนิดของสัตว์, ตำแหน่งระเบียบการประดับ โดยเฉพาะรับอิทธิพลของศิลปะจีนอย่างมากในการทำ รวมทั้งมีอิทธิพลของศิลปะพม่าและศิลปะภาคกลางปะปนอยู่ด้วย นอกจากนั้นความนิยมในการใช้รูปสัตว์ในช่วงเวลาดังกล่าวยังได้ส่งผลให้เกิดการลอกเลียนแบบในงานรุ่นหลังจนถึงสมัยปัจจุบัน The purpose of this research was to study the of animal motif for decorating ecclesiastical architecture in Chieng Mai Province during the 24th Century A.D. It was found that animal motif was often used depending upon types of animal, decorative position, and frame patterns.
Fundamental data were collected from historical references, archeological events, and art work by surveying taking pictures of selective ecclesiastical architectures that were decorated with animal motif. All data were them categorized and analyzed for final conclusion.
This thesis is divided into 5 chapters including: chapter 1 rationale and statement of the problem, objectives, expected outcomes; chapter 2 decorative architecture in Chieng Mai before the 24th Century A.D.; chapter 3 details of each ecclesiastical architecture and animal motif; chapter 4 analysis of findings; and chapter 5 summary.
The result of this study showed that the use of animal motif was based upon a belief for its protective quality and glorical effects with specific positions. The pattern of using animal motif decoration in terms of animal types and decorative patterns have been influenced from an ancient period in the 24th Century A.D., especially Chinese arts, and the combination of Myanmar and central region arts. In addition, the an animal motif decoration during such period has had some influential on today’s art work.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2536 Thesis (M.A. (History of art))--Silpakorn University, 1993)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
258