โบราณคดีเมืองกาญจนบุรี (เก่า)
Other Title:
Archaeology of ancient Kanchanaburi town
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาวิจัยโดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานทางโบราณคดีในทุกประเภทที่พบจากการดำเนินงานในบริเวณเมืองกาญจนบุรี (เก่า) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการศึกษา ดังนี้
1. เพื่อทราบถึงอายุสมัยของเมืองกาญจนบุรี (เก่า)
2. เพื่อทราบถึงลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองกาญจนบุรี (เก่า)
3. เพื่อทราบถึงลักษณะรูปแบบและการกำหนดพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ในบริเวณเมืองกาญจนบุรี (เก่า) ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจนถึงสิ้นสุดการใช้ประโยชน์พื้นที่เมือง
ผลจากการศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่าง ๆ สามารถสรุปจุดมุ่งหมายในการศึกษา 3 ประเด็นหลักได้ ดังนี้
1. อายุสมัยของเมืองกาญจนบุรี (เก่า) ปรากฏอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-24 ซึ่งเป็นช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง – รัตนโกสินทร์ตอนต้น
2. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองปรากฏหลักฐานทั้งสิ้น 3 ช่วงระยะเวลา คือ สมัยแรกสร้างเมือง (พุทธศตวรรษที่ 21 – 22), สมัยที่ 2 (พุทธศตวรรษที่ 23) และสมัยสุดท้ายก่อนการทิ้งร้าง (พุทธศตวรรษที่ 24)
3. ลักษณะรูปแบบเมืองเป็นเมืองเปิด ใช้สภาพภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติเป็นแนวป้องกันเมือง ภายในเมืองประกอบด้วยพื้นที่ใช้ประโยชน์ 3 ส่วน คือ พื้นที่ด้านลัทธิความเชื่อ ได้แก่ กลุ่มวัดร้าง จำนวน 4 วัด พื้นที่ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ ป้อม ค่าย สำหรับระดมไพร่พลเพื่อเตรียมความพร้อมในสงคราม และพื้นที่อยู่อาศัยชั่วคราวเมื่อยามเกิดศึกสงคราม ทั้งนี้ การใช้พื้นที่ลักษณะนี้อาจเป็นแบบแผนของการใช้พื้นที่ของเมืองหน้าด่านในสมัยอยุธยาของไทย This research focus on studying the archaeological site of Old Kanchaburi Town and on analyzing archaeological evidence found there with the following objectives :
1. To know the probable chronology of the Old Kanchanaburi Town
2. To understand the developmental sequence of the Old Kanchanaburi Town
3. To understand the land use pattern in the Old Kanchanaburi Town
Basing on the result derived from archaeological study and analysis, this research derives at 3 suggestions as follows.
1. Dating of ancient Kanchanaburi town is during the 21st – 24th Buddhist Century, which can also be labeled as during the middle of Ayutthaya era until the beginning of Rattanakosin era.
2. The historical development of the town can be divided into 3 occupational periods. The first period is probably dated around the 21st – 22nd Buddhist Century, the second period is probably dated about the 23rd Buddhist Century, the last period before the abandonment of the town is dated to the 24th Buddhist Century.
3. The town has no artificial boundaries boundaries but the natural geographic features were used as defensive lines. The areas of the town were possibly divided into 3 functional areas, including ; religious function area which comprised 4 temples, political function area which was composed of fort and related defensive features, and domestic function area which was very probably for temporally habitation. This might also be the general land use pattern of the border town during the Ayutthaya period of historic Thailand.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
562