การศึกษาร่างผสมในงานศิลปกรรมของช่วง มูลพินิจ
Other Title:
The study of hybrid figure in Chuang Moolpinit's art
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ช่วง มูลพินิจ มีความโดดเด่นในการสร้างสรรค์ร่างผสมขึ้นมาใหม่ด้วยจินตนาการของ ตนเอง เป็นภาพสะท้อนเรื่องราวทางโลกและทางธรรม ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิด รูปแบบ และวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนรวมทั้งที่สิ่งเชื่อมโยงเกี่ยวข้องทั้งรูปแบบศิลปะทั้งไทยและต่างประเทศ แนวความคิดทางจิตวิทยาและจิตวิเคราะห์ หลักสุนทรีย์ศาสตร์ รูปเคารพและทางศาสนา และลัทธิความเชื่อทั้งตะวันออกและตะวันตก การศึกษารูปทรงของสัตว์และพืชทั้งที่มีอยู่จริงและสัตว์ในตำนานมาใช้เพื่อทำการศึกษาผลงานศิลปกรรมของ ช่วง มูลพินิจ ที่มีร่างผสมระหว่างมนุษย์และพืช มนุษย์และสัตว์ สัตว์ มนุษย์และพืช
จากการศึกษาและวิจัยพบว่า รูปทรงของร่างผสมที่เป็นมนุษย์ สัตว์ และพืช รวมถึงรูปลักษณ์ในจินตนาการของช่วง มูลพินิจ ได้ถูกสร้างขึ้นในลักษณะเหมือนจริง (Realistic) ไม่เน้นการสร้างมวลปริมาตร เน้นการตกแต่งรูปทรงทั้งหลายด้วยลวดลาย โดยเฉพาะลายไทย และเขียนลายลงบนรูปทรงคล้ายสักหรือการเขียนลวดลายบนผิวหนัง ซึ่งการใช้เส้นที่อ่อนช้อยสร้างลวดลายและรูปทรง
ปาริฉัตร์ กรอบอนันต์ : การศึกษาร่างผสมในงานศิลปกรรมของช่วง มูลพินิจ
และการตัดเส้นถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งในงานของช่วย เป็นความงามเชิงเส้น นอกจากร่างผสมที่งดงามอ่อนช้อยแล้ว ยังปรากฏผลงานได้สร้างร่างผสมที่ประหลาด พิลึกพิลั่น เกินจริง ฟุ้งฝัน และล้ำจินตนาการ
เรื่องราวของความรักและภาพอีโรติก เป็นอีกหนึ่งลักษณะเด่นและเป็นแนวทางในการสร้างงานของช่วงมูลพินิจ โดยการยึดคติสร้างงานด้วยความจริงใจต่อเอง เป็นการเปิด โลกที่ ต้องซ่อนเร้นออกสู่สาธารณะ เป็นการเสนอมุมมองที่ท้าทายต่อคติความเชื่อเดิมของเรื่องราวทาง เพศ หรือกามวิสัย ที่แฝงมายาคติและสัญญะทางโลกไว้อย่างมากมาย Chuang Moolpinit shined at creating hybrid figures from his own imagination. He revealed his religious and secular views through his artwork of which ideas, styles, and art processes, plus psycho-interpretation and related sources were incorporated into this study. It included a compilation of forms of Chuang’s hybrid figures merged between human beings, together Eastern and Western beliefs
According to the study, Chuang’s hybrid figures and imaginative creatures were created adopting realistic shapes without muscle volume and embellished with tattoo-like Thai motifs. The flowing line and shape of Chuang’s art was to the greatest extent his signature. The beauty of lines was apparent. Moreover, his hybrid figures were of extraordinary kind and beyond fantasy.
Love and eroticism was one of Chuang’s primary themes that made him stand out. It was the sincerity of his own nature that encouraged him to unveil man’s rudimentary instinct which was usually concealed The idea challenged the old mindset in which sex and desire was a mystery while the was presented with apparent hints of worldly whims.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์
Collections:
Total Download:
777