ทัศนคติของครูไทยต่อการพูดภาษาอังกฤษตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ "พ.ศ. 2555 ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ"
Other Title:
Attitude of Thai teachers to english speaking by policy of the ministry of Education "2012 years of english speaking"
Author:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของครูไทยที่มีอายุ ระดับการศึกษา และวิชาที่สอนต่างกันต่อการพูดภาษาอังกฤษตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ “พ.ศ. 2555 ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ” กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูในสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 152 คน จาก 15 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามทัศนคติ จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามทฤษฎีของ Likert Scale โดยมีการวัดทัศนคติใน 4 ด้าน คือ 1. ด้านการพูดภาษาอังกฤษของครู 2. การพูดภาษาอังกฤษในโรงเรียน 3. การพูดภาษาอังกฤษของคนไทย 4. แนวโน้มต่อการพูดภาษาอังกฤษของครูไทยในอนาคต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง คือ รูปแบบค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้การทดสอบค่าที่ (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบทัศนคติ ผลการวิจัยพบว่า ในด้านแนวโน้มการพูดภาษาอังกฤษในอนาคต ครูที่สอนวิชาภาษาอังกฤษมีทัศนคติแตกต่างจากครูที่สอนวิชาอื่น ๆ ครูที่มีอายุต่างกัน มีระดับค่าเฉลี่ยในด้านแนวโน้มการพูดภาษาอังกฤษในอนาคตต่างกัน ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีค่าเฉลี่ยในทัศนคติด้านการพูดภาษาอังกฤษของครูแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ผลการทดสอบไม่พบความแตกต่าง ในทัศนคติด้านการพูดภาษาอังกฤษในโรงเรียนและการพูดภาษาอังกฤษของคนไทยของกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันและอายุที่แตกต่างกัน This quantitative study aimed to examine the attitude of Thai teachers on the government English speaking scheme called “2012 years of English Speaking” implemented by the Ministry of Education. Samples were 152 teachers from 15 government schools in Bangkoknoi District, Bangkok metropolitan. The respondents were in different age groups, had different education levels, and taught different subjects. The 40 – item questionnaire using the 5 point Likert Scale was constructed to measure the participants’ attitudes in 4 different areas : 1) Teachers’ English Speaking 2) English Speaking in schools 3) Thai people’s English Speaking and 4) Trends towards English Speaking of the teachers. The statistical tools applied in the data analysis were percentage, standard deviation, t-test and F-test. A comparative analysis of the attitudes of participants in different groups indicated that the respondents teaching different subjects and in different age groups had different attitudes to Trends towards the English Speaking of the teachers. The respondents with different levels of education displayed different attitudes to Teachers’ English Speaking. However, there was no difference in the attitude of the respondents with different level of education and the different age groups regarding English Speaking in schools and Thai people’s English Speaking.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Collections:
Total Download:
490